5.00
(1 Rating)

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

Categories: ป.4
Wishlist Share
Share Course
Page Link
Share On Social Media

About Course

การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย

          การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทยนิยมแบ่งหลายแบบ ที่ใช้กันในปัจจุบันมักเป็นการผสมระหว่างหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์สากลกับหลักเกณฑ์การแบ่งยุคสมัยของประวัติศาสตร์ไทย โดยในประวัติศาสตร์ไทยมีการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์คล้ายกับประวัติศาสตร์สากล คือ แบ่งออกเป็นสมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์ และในแต่ละยุคสมัยได้ถูกแบ่งเป็นยุคสมัยย่อย ๆ ลงไปอีกเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น ดังนี้

3.1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์

          สมัยก่อนประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ยังไม่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร การแบ่งยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี ซึ่งกำหนดยุคสมัยจึงนิยมแบ่งตามนักโบราณคดี ซึ่งกำหนดยุคสมัยตามหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ของมนุษย์ สมัยก่อนประวัติศาสตร์นิยมแบ่งช่วงเวลาออกเป็นยุคหินกับยุคโลหะ

          1) ยุคหิน แบ่งย่อยออกเป็นยุคต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ยุคหินเก่า มีอายุประมาณ 700,000 ปีมาแล้ว ดังพบหลักฐานประเภทเครื่องมือหินกรวดกะเทาะหน้าเดียวเพื่อใช้สับ ตัด ขุด แหล่งที่พบ เช่น บ้านแม่ทะ จังหวัดลำปาง มนุษย์ยุคนี้เป็นพวกเร่ร่อน เก็บหาของป่า ล่าสัตว์ อยู่รวมกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ
1.2 ยุคหินกลาง มีอายุประมาณ 10,000 – 4,300 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีความประณีตขึ้น สามารถทำภาชนะดินเผาใช้ในชีวิตประจำวันโดยมีทั้งภาชนะแบบผิวเกลี้ยงและมีลวดลายที่เกิดจากการใช้เชือกทาบ แหล่งที่พบหลักฐานยุคหินกลาง เช่น ที่ถ้ำไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
1.3 ยุคหินใหม่ มีอายุประมาณ 4,300 ปีมาแล้ว มนุษย์ยุคนี้รู้จักการตั้งถิ่นฐานทำเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ทำเครื่องมือหินขัดที่มีความคม มีผิวเรียบ ทำเครื่องปั้นดินเผาแบบสามขา เช่น ที่บ้านเชียง จังหวัดอุบลราชธานี บ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี

          2) ยุคโลหะ แบ่งออกได้ดังนี้

2.1 ยุคสำริด มีอายุประมาณ 3,500 ปีมาแล้ว ดังพบหลักฐานเครื่องมือสำริดที่เป็นอาวุธ เครื่องประดับ เครื่องมือเครื่องใช้ กลองสำริด เครื่องปั้นดินเผาลายเขียนสี เช่น ที่บ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี
2.2 ยุคเหล็ก มีอายุประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว ดังพบเครื่องมือเหล็กที่ทนทานและใช้ประโยชน์ได้มากกว่าเครื่องมือสำริด เช่น ที่บ้านดอนตาเพชร จังหวัดกาญจนบุรี สังคมยุคนี้มีความซับซ้อนมากขึ้น มีการติดต่อกับต่างถิ่น มีชนชั้น ดังจะเห็นได้จากการฝังศพ ที่บางศพมีข้าวของเครื่องใช้และเครื่องประดับมากมาย แสดงถึงการเป็นบุคคลสำคัญ

3.2 สมัยประวัติศาสตร์

          สมัยประวัติศาสตร์เป็นสมัยที่ปรากฏหลักฐานลายลักษณ์อักษร หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุดในดินแดนไทย คือ ศิลาจารึก ในหลายพื้นที่พบศิลาจารึกที่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน เช่น ที่ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ซับจำปา จังหวัดลพบุรี ส่วนจารึกที่ปรากฏศักราชชัดเจนที่สุด คือ จารึกอักษรปัลลวะ เป็นภาษาสันสกฤตและเขมร พบที่ปราสาทเขาน้อย จังหวัดปราจีนบุรี ระบุมหาศักราช 559 หรือตรงกับ พ.ศ. 1180
สำหรับการแบ่งสมัยประวัติศาสตร์ในดินแดนไทยโดยละเอียดมีดังนี้
1) สมัยอาณาจักรรุ่นแรก ๆ นับช่วงเวลาก่อนการตั้งอาณาจักรสุโขทัย เช่น อาณาจักรทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11-16) อาณาจักรละโว้ (พุทธศตวรรษที่ 12-18) หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ เช่น ศิลาจารึก เหรียญจารึก รัฐโบราณเหล่านี้มีการสร้างสรรค์อารยธรรมภายใน และมีการรับและแลกเปลี่ยนอารยธรรมจากภายนอก เช่น การรับพระพุทธศาสนา ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู การติดต่อค้าขายกับพ่อค้าต่างแดน เป็นต้น
2) สมัยสุโขทัย ตั้งแต่การสถาปนากรุงสุโขทัยเมื่อ พ.ศ. 1792 จนสุโขทัยถูกรวมเข้ากับกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2006 สมัยสุโขทัยเป็นช่วงที่มีการสร้างสรรค์วัฒนธรรมไทยหลายประการ เช่น ตัวหนังสือ การนับถือพระพุทธศาสนา การสร้างสรรค์ศิลปะที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเอง เช่น เจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ พระพุทธรูปปางลีลา เป็นต้น
3) สมัยอยุธยา ตั้งแต่ พ.ศ. 1893 – 2310 สามารถแบ่งออกเป็นสมัยย่อยได้อีก โดยแบ่งตามสมัยของราชวงศ์และแบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์

3.1 แบ่งตามราชวงศ์ที่ปกครอง ได้แก่ ราชวงศ์อู่ทอง (พ.ศ. 1893-1913 และ พ.ศ. 1931-1952) ราชวงศ์สุพรรณภูมิ (พ.ศ. 1913-1931 และ พ.ศ. 1952-2112) ราชวงศ์สุโขทัย (พ.ศ. 2112-2173) ราชวงศ์ปราสาททอง (พ.ศ. 2173-2231) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง (พ.ศ. 2231-2310)

3.2 แบ่งตามลักษณะสำคัญของประวัติศาสตร์ ได้แก่

(1) สมัยการวางรากฐานและการสร้างความมั่นคง เริ่มตั้งแต่การตั้งอาณาจักรเป็นสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ใน พ.ศ. 1893 จนถึงสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ในพ.ศ. 1991 เป็นช่วงที่อาณาจักรยังมีขนาดเล็ก ต่อมาได้ขยายอำนาจไปโจมตีอาณาจักรขอม ทำให้ราชสำนักอยุธยาได้รับวัฒนธรรมขอมเข้ามา รวมทั้งการทำการค้ากับต่างชาติ เช่น จีน
(2) สมัยแห่งความมั่นคงทางการเมืองและเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 1991 ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชใน พ.ศ. 2231 เป็นช่วงที่ระบบการปกครองมีระเบียบแบบแผน มีความมั่นคง มีการติดต่อค้าขายกับต่างชาติอย่างกว้างขวาง
(3) สมัยเสื่อมอำนาจ ตั้งแต่ พ.ศ. 2231-2310 เป็นสมัยที่มีกบฏภายใน มีการแย่งชิงอำนาจกันเองหลายครั้ง ส่งผลให้ราชสำนักอ่อนแอและเสียกรุงใน พ.ศ. 2310
(4) สมัยธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 2310-2325 เป็นสมัยของการฟื้นฟูบ้านเมืองหลังเสียกรุงศรีอยุธยา มีการทำสงครามเกือบตลอดเวลา
(5) สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน มีการแบ่งเป็นสมัยย่อยโดยยึดตามการเปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและการปกครองร่วมกัน โดยแบ่งได้ดังนี้
5.1 สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2325-2394 อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 1-รัชกาลที่ 3 เป็นช่วงการฟื้นฟูอาณาจักรในทุกด้านต่อจากสมัยธนบุรี
5.2 สมัยรัตนโกสินทร์ยุคกลางปรับปรุงประเทศ ตั้งแต่ พ.ศ. 2394-2495 อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4-รัชกาลที่ 7 เป็นช่วงที่มีการติดต่อกับต่างชาติ มีการปรับปรุงประเทศให้ทันสมัยตามแบบตะวันตก จนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย
5.3 สมัยประชาธิปไตย ตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน เป็นช่วงที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย มีรัฐธรรมนูญเป็นกฏหมายสูงสุดในการปกครองประเทศประชาชนมีสิทธิเสรีภาพทางการเมือง บ้านเมืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว

Show More

Course Content

ยุคสมัยทางประวัติศาสตร์

Student Ratings & Reviews

5.0
Total 1 Rating
5
1 Rating
4
0 Rating
3
0 Rating
2
0 Rating
1
0 Rating
ด.ญ.อัยย์ยาภรณ์​ ซ่อนศรี​ ป.4/5​ เลขที่​ 38