Course Content
หน่วยที่ 1 นักสืบมือใหม่
นักสืบที่ดีควรยึดหลัก 8 ร. รัก รอบรู้ ริเริ่ม รวดเร็ว รอบคอบ รับผิดชอบ ไร้ร่องรอย เรื่องร่างกาย
0/3
วิชาสะเต็มศึกษา (STE@M Education) : CSI
About Lesson

หน่วยที่ 1 นักสืบมือใหม่

บทที่ 1 Voices นักล่าเสียง

ในปัจจุบันนี้เจ้าหน้าที่สืบสวนและตำรวจนั้นมีอัตราส่วนต่อประชากรอยู่ที่ 1 : 304 หมายความว่าเจ้าหน้าที่สืบสวนหรือตำรวจ. 1 คนต้องดูแลประชาชน 304 คน ทำให้การทำงานของเจ้าหน้าที่หลายครั้งไม่ทันต่อความต้องการของประชาชน ทำให้เกิดอาชีพที่สำคัญหนึ่งขึ้นมาเพื่อทำหน้ารวบรวมข้อมูล หลักฐาน พยานต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานของเจ้าหน้าที่ราบรื่นและรวดเร็วมากขึ้น อาชีพสำคัญนี้คืออาชีพนักสืบโดยในเมืองไทยนั้นงานหลัก ๆ ของนักสืบได้แก่สืบทรัพย์สิน. สืบชู้สาว. สืบคดีความ. และสื่บหลักฐาน. เป็นต้น 

จะเห็นได้ว่างานของนักสืบในปัจจุบันของประเทศไทยนั้นอาจจะดูไม่น่าตื่นเต้นเหมือนกับที่เรารู้มาแต่งานเหล่านั้นก็เป็นงานที่มีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตของประชาชนหลายคน ซึ่งข้อมูลที่นักสืบจะต้องเก็บรวบรวมมานั้นก็มีหลากหลายรูปแบบ 

ได้แก่ ข้อมูลที่ได้จากการรวบรวม หรือบันทึกจากปหล่งข้อมูลโดยตรงต่างๆ เช่น จากการสอบถาม. การสัมภาษณ์ การสำรวจ. การจดบันทึก  จากข้อมูลที่เกิดขึ้นในอดีต มักผ่านการประมวลผลมาแล้ว และข้อมูลทั่วๆไปที่มนุษย์ใช้สื่อสารกัน เช่น. เสียง รูปภาพ.   

ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้เก็บรวบรวมเอง แต่มีผู้อื่นหรือ หน่วยงานอื่นๆ ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้ว เช่น จากรายงาน ที่พิมพ์แล้ว หรือยังไม่ได้พิมพ์ของ หน่วยงานของรัฐบาล สมาคม บริษัท สำนักงานวิจัย นักวิจัย วารสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น

ข้อมูลตติยภูมิ(tertiary sources)

หมายถึง สารสนเทศที่ชี้แนะแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศ ปฐมภูมิและทุติยภูมิ จะให้ข้อมูลทางบรรณานุกรมของ สารสนเทศ ได้แก่หนังสือนามานุกรม บรรณานุกรม และ ดัชนีวารสาร เป็นต้น

คลื่นเสียง

คลื่นเสียง (Sound wave) คือ คลื่นกล (Mechanical wave) ตามยาวที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ หรือ “แหล่งกำเนิดเสียง” ซึ่งต้องอาศัยตัวกลาง (Medium) ในการเคลื่อนที่

คลื่นเสียง สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางได้ทุกสถานะ ไม่ว่าจะเป็นวัตถุของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ คลื่นเสียงนั้น มีคุณสมบัติเช่นเดียวกับคลื่นอื่นๆ เช่น แอมพลิจูด (Amplitude) ความเร็ว (Velocity) หรือ ความถี่ (Frequency)

เสียง (Sound) คือ การถ่ายทอดพลังงานจากการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียงผ่านโมเลกุลของตัวกลางไปยังผู้รับ โดยที่หูของเรานั้น สามารถรับรู้ถึงการสั่นสะเทือนของโมเลกุลเหล่านี้ได้ และได้ทำการแปลผลลัพธ์ออกมาในรูปของเสียงต่างๆ

การเคลื่อนที่ของคลื่นเสียง

เมื่อวัตถุเกิดการเคลื่อนที่หรือถูกกระทำด้วยแรงจากภายนอก ก่อให้เกิดการสั่นสะเทือนของโมเลกุลภายในวัตถุนั้น ซึ่งส่งผลไปยังอนุภาคของอากาศหรือตัวกลางที่อยู่บริเวณโดยรอบ  ก่อให้เกิดการรบกวนหรือการถ่ายโอนพลังงาน ผ่านการสั่นและการกระทบกันเป็นวงกว้างทำให้อนุภาคของอากาศเกิด “การบีบอัด” (Compression) เมื่อเคลื่อนที่กระทบกัน และ “การยืดขยาย” (Rarefaction) เมื่อเคลื่อนที่กลับตำแหน่งเดิม ดังนั้น คลื่นเสียง จึงเรียกว่า “คลื่นความดัน” (Pressure wave) เพราะอาศัยการผลักดันกันของโมเลกุลในตัวกลางในการเคลื่อนที่

ตัวกลาง (Medium) จึงกลายเป็นปัจจัยสำคัญต่อการได้ยินเสียง เพราะคลื่นเสียงเคลื่อนที่โดยอาศัยตัวกลางในการถ่ายทอดพลังงานเท่านั้น ส่งผลให้ในภาวะสุญญากาศ ซึ่งเป็นพื้นที่ว่างที่ไม่มีอนุภาคตัวกลางใดๆ คลื่นเสียงจึงไม่สามารถเคลื่อนที่ผ่านไปได้

สมบัติของเสียง

การสะท้อน (Reflection) คือ การเคลื่อนที่ของเสียงไปกระทบสิ่งกีดขวาง ส่งผลให้เกิดการสะท้อนกลับของเสียงที่เรียกว่า “เสียงสะท้อน” (Echo) ซึ่งโดยปกติแล้ว เสียงที่ผ่านไปยังสมองจะติดประสาทหูราว 0.1 วินาที ดังนั้นเสียงที่สะท้อนกลับมาช้ากว่า 0.1 วินาที ทำให้หูของเราสามารถแยกเสียงจริงและเสียงสะท้อนออกจากกันได้ นอกจากนี้ หากมุมที่รับเสียงสะท้อนเท่ากับมุมตกกระทบของเสียงจะส่งผลให้เสียงสะท้อนมีระดับความดังสูงที่สุดอีกด้วย

การหักเห (Refraction) คือ การเคลื่อนที่ของเสียงผ่านตัวกลางต่างชนิดกัน หรือการเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่มีอุณหภูมิต่างกัน ส่งผลให้อัตราเร็วและทิศทางการเคลื่อนที่ของเสียงเปลี่ยนไป

การเลี้ยวเบน (Diffraction) คือ การเดินทางอ้อมสิ่งกีดขวางหรือเลี้ยวเบนผ่านช่องว่างต่างๆของเสียง โดยคลื่นเสียงที่มีความถี่และความยาวคลื่นมาก สามารถเดินทางอ้อมสิ่งกีดขวางได้ดีกว่าคลื่นสั้นที่มีความถี่ต่ำ

การแทรกสอด (Interference) เกิดจากการปะทะกันของคลื่นเสียงจากหลายแหล่งกำเนิด ซึ่งอาจทำให้เกิดเสียงที่ดังขึ้นหรือเบาลงกว่าเดิม หากคลื่นเสียงที่มีความถี่ต่างกันเล็กน้อย (ไม่เกิน 7 เฮิรตซ์) เมื่อเกิดการแทรกสอดกันจะทำให้เกิดเสียงบีตส์ (Beats)

       คลื่นเสียง ชีวิตประจำวันเราจะได้ยินเสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา การได้ยินเสียงของเราเกิดจากหูได้รับพลังงานจากการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเสียงผ่านโมเลกุลของอากาศ ลักษณะการเคลื่อนที่ของโมเลกุลของอากาศจะอยู่ในรูปของคลื่นตามยาว มีผลทำให้ความดันของอากาศบริเวณที่มีการถ่ายทอดพลังงานมีค่าเปลี่ยนแปลงไปจากความดันปกติ บริเวณที่มีความดันมากกว่าปกติเราเรียกว่าส่วนอัดส่วนบริเวณที่มีความดันน้อยกว่าปกติเราเรียกว่าส่วนขยาย

หูกับการได้ยิน หูแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ หูชั้นนอก  หูส่วนกลาง หูส่วนใน  ดังรูป

ภายในหูส่วนกลางจะมีท่อเล็ก ๆ ติดกับหลอดลม ซึ่งจะทำหน้าที่ปรับความดันอากาศทั้งสองด้านของเยื่อแก้วหูให้เท่ากันตลอดเวลา ถ้าความดันทั้งสองข้างของเยื่อแก้วหูไม่เท่ากันจะทำให้เกิดอาการ หูอื้อ

หูส่วนในมีส่วนสำคัญต่อการรับฟังเสียง ส่วนที่เป็นท่อกลวงขดเป็นรูปคล้ายหอยโข่งเรียกว่า คอเคลีย ภายในท่อนี้มีเซลล์ขนอยู่เป็นจำนวนมากทำหน้าที่รับรู้การสั่นของคลื่นเสียงที่ผ่านมาจากหูส่วนกลางพร้อมทั้งส่งสัญญาณการรับรู้ผ่านโสตประสาทไปยัง สมอง สมองจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณที่ได้รับ ทำให้เราทราบเกี่ยวกับเสียงที่ได้ยิน

0% Complete