Course Content
คอมพิวเตอร์ กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญาณต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง
0/19
มัลติมีเดีย 02
สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
0/10
คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย 1 ว 32293 มัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
About Lesson

Composition หรือ องค์ประกอบภาพ เป็นหนึ่งในกรอบหรือกฎแรกๆ ที่ผู้สนใจเรียนรู้การถ่ายภาพจะต้องศึกษา หลักการเกี่ยวกับ Composition หลายๆ อย่างที่เป็นความรู้สมัยโบราณ ยังสามารถนำมาใช้กับการถ่ายภาพในยุคดิจิตอลได้อย่างกลมกลืน ถ้ามีอะไรในหนังสือหรือตำราเกี่ยวกับการถ่ายภาพที่มีการจัดพิมพ์มาเป็นระยะเวลานับร้อยปีแล้ว แต่ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการถ่ายภาพในยุคนี้ด้วยกล้องดิจิตอลรุ่นล่าสุดได้ ผมมั่นใจว่าเรื่อง Composition  ต้องเป็นหนึ่งในนั้นอย่างแน่นอน

                Composition นั้นไม่ใช่เป็นเพียงแค่วัตถุหลักและตำแหน่งที่มันปรากฏอยู่ในภาพเท่านั้น แต่หมายถึงการรวมกันของทุกๆ สิ่งทุกๆอย่างที่มองเห็นในภาพ ไม่ว่าจะเป็นฉากหลัง ฉากหน้า สี แสง กรอบ วัตถุประกอบเล็กๆ น้อยๆ ฯลฯ ถ้าทุกอย่างลงตัว ภาพก็จะดูน่าสนใจ สำหรับนักถ่ายภาพที่เชื่อมั่นในจินตนาการ และลำบากใจในการที่จะเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่า “กฎ” หรือ “กรอบ” ต่อไปนี้ ก็สามารถที่จะใช้คำว่า “Guidelines” หรือ แนวทาง แทนก็ได้ ใช้แนวทางเหล่านี้เป็นส่วนเสริมจินตนาการ เพื่อผลงานที่ดีเยี่ยมยิ่งขึ้นไป

อย่าเข้าใจผิด

ที่ถูกต้อง

งค์ประกอบศิลป์ (COMPOSITION) คืออะไร?

องค์ประกอบศิลป์ (Composition) คือ การนำสิ่งต่างๆ มาประยุกต์และดัดแปลง ผนวกความสร้างสรรค์ในแต่ละบุคคล แล้วนำมารวมกันตามสัดส่วนและความเหมาะสม จากนั้นสร้างสรรค์เป็นผลงานออกมาให้เกิดเป็นความน่าสนใจและมีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากที่สุด อีกทั้งความน่าสนใจในแต่ละชิ้นงานนั้นอาจจำเป็นต้องตอบโจทย์และตอบสนองต่อความต้องการของผู้รับสารด้วย เพราะความน่าสนใจนั้นอาจหมายรวมถึงการนำเสนอภาพรวม การสื่อความหมาย และวัตถุประสงค์ในการออกแบบ เป็นต้น

ปัจจัยสำคัญในการออกแบบ

• สัดส่วนของภาพ (Proportion)
• ความสมดุลของภาพ (Balance)
• จังหวะลีลาของภาพ (Rhythm)
• การเน้นหรือจุดเด่นของภาพ (Emphasis)
• เอกภาพ (Unity)
• ความขัดแย้ง (Contrast)
• ความกลมกลืน (Harmony)
และสิ่งต่างๆ ที่ได้นำมาประกอบให้เข้ากันนั้น คือ จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ลักษณะผิว ส่วนประกอบต่างๆ ของศิลปะนำมาจัดประสานสัมพันธ์กัน ให้เกิดคุณค่า ทางความงาม เราเรียกว่า องค์ประกอบศิลป์ (Composition)

ความสำคัญขององค์ประกอบศิลป์

เพราะเป็นเรื่องที่ผู้เรียนศิลปะทุกคนต้องเรียนรู้เป็นพื้นฐาน เพื่อที่จะนำไปใช้ให้เกิดประสิทธิภาพในการออกแบบโครงสร้างหรือรูปร่างของภาพนั่นเอง แล้วจากนั้นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานออกแบบต่างๆ ได้ เช่น การตกแต่งบ้าน จัดสวน หรือกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถนำไปใช้กับการออกแบบอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเหล่านี้ต้องอาศัยหลักองค์ประกอบศิลป์ทั้งสิ้น

ส่วนประกอบขององค์ประกอบศิลป์ที่สำคัญ
จุด (Point, Dot)

        ส่วนประกอบที่เล็กที่สุด ที่เป็นจุดเริ่มต้นเพื่อไปสู่ส่วนอื่น การนำจุดมาเรียงต่อกันตามตำแหน่งที่เหมาะสมและซ้ำกันก็จะทำให้เราสามารถมองเห็นเป็นรูปร่าง รูปทรง ลักษณะผิวและการออกแบบอื่นๆ ที่มีความน่าตื่นเต้นและน่าสนใจได้ จากจุดหนึ่งถึงจุดหนึ่งมีเส้นที่มองไม่เห็นด้วยตา แต่เห็นได้ด้วยจินตนาการ เราเรียกว่า เส้นโครงสร้าง นอกจากจุดที่เรานำมาจัดวางเพื่อการออกแบบ เราสามารถพบเห็นลักษณะการจัดวางจุดจากสิ่งเป็นธรรมชาติ ที่อยู่รอบๆ ตัวเราได้ เช่น ข้าวโพด เปลือกหอย และหลากหลายรูปทรงนั้นก็ได้รับอิทธิพลมาจากธรรมชาติที่หล่อหลอมเราให้สร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ขึ้น

เส้น (Line)

        เส้นเกิดจาก จุดที่เรียงต่อกัน แล้วลากเส้นไปยังทิศทางต่างๆ มีหลายลักษณะจนทำให้เกิดลักษณะเส้นหลายแบบ เช่น ตั้ง นอน เฉียง โค้ง ฯลฯ เส้นมีมิติเดียว คือความยาว ไม่มีความกว้าง ทำหน้าที่เป็นขอบเขตของที่ว่าง รูปร่าง รูปทรง สี น้ำหนัก รวมทั้งเป็นแกนหลักโครงสร้างของรูปร่างรูปทรงต่างๆ เส้นถือว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของงานศิลปะทุกชนิด เส้นสามารถสื่อความหมายและสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกได้เช่นกัน การสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ขึ้น เส้นมี 2 ลักษณะคือ เส้นตรง (Straight Line) และ เส้นโค้ง (Curve Line) เส้นทั้งสองชนิดนี้เมื่อนำมาจัดวางในลักษณะต่างๆ กันและให้ความหมาย ความรู้สึก ที่แตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน

รูปร่างและรูปทรง (Shape and Form)

        พื้นที่ที่ล้อมรอบไปด้วยเส้นที่แสดงความกว้าง ความยาว รูปร่างมีสองมิติรูปทรง นั่นก็คือภาพสามมิติที่ต่อเนื่องจากรูปร่าง โดยมีความหนาหรือความลึก ที่ทำให้ภาพที่เห็นนั้นมีความสมบูรณ์และชัดเจน

                รูปร่างและรูปทรงแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่

                รูปทรงเรขาคณิต (Geometric Form)
                มีรูปร่างรูปทรงที่แน่นอน มาตรฐาน สามารถวัดหรือคำนวณได้ มีกฎเกณฑ์ เช่น รูปสี่เหลี่ยม รูปวงกลม รูปวงรี เป็นต้น และรูปเรขาคณิตนี้เองที่เป็นพื้นฐานของรูปทรงต่างๆ
                รูปทรงธรรมชาติ (Nature Form)
                การเลียนแบบธรรมชาติ รูปทรงธรรมชาติที่มีอยู่รอบตัวเรา เช่น ดอกไม้ ใบไม้ สัตว์ต่างๆ เป็นแม่แบบในการออกแบบและสร้างสรรค์ โดยยังคงให้ความรู้สึกและรูปทรงที่เป็นธรรมชาติและบางรูปทรงที่มีการล้อเลียนธรรมชาติ โดยใช้รูปทรง การ์ตูน อวัยวะ เป็นต้น และในบางครั้งได้มีการนำวัสดุที่มีอยู่ ตามธรรมชาติ เช่น เปลือกหอย, กิ่งไม้, ขนนก ฯลฯ นำมาออกแบบ ดัดแปลง สร้างสรรค์ผลงาน
                รูปทรงอิสระ (Free Form)
                รูปแบบโครงสร้างที่ไม่แน่นอน ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวและเป็นอิสระ ได้อารมณ์ รูปอิสระอาจเกิดจากรูปเรขาคณิตหรือรูปธรรมชาติ ที่ถูกกระทำจนมีรูปลักษณะเปลี่ยนไปจากเดิมจนไม่เหลือสภาพเดิม