ทศนิยม
-
ทศนิยม
ทศนิยม หมายถึง การเขียนตัวเลขประเภทเศษส่วนเป็น 10 หรือ 10 ยกกำลัง ต่าง ๆ แต่เปลี่ยนรูปจากเศษส่วนมาเป็นรูปทศนิยม โดยใช้เครื่องหมาย . (จุด)แทน
-
การอ่านทศนิยม
เลข ที่อยู่หน้าทศนิยมเป็นเลขจำนวนเต็ม อ่านเช่นเดียวกับตัวเลขจำนวนเต็มทั่วไป ส่วนตัวเลขหลังจุดทศนิยมเป็นเลขเศษของเศษส่วนซึ่งมีค่าไม่ถึงหนึ่ง อ่านตามลำดับตัวเลขไปเช่น 635.1489 อ่านว่า หกร้อยสามสิบห้าจุดหนึ่งสี่แปดเก้าถ้าเลขจำนวนนั้นไม่มีจำนวนเต็ม จะเขียน 0 (ศูนย์) ไว้ตำแหน่งหลักหน่วยหน้าจุดได้ เช่น .25 เขียนเป็น 0.25 ก็ได้
-
การกระจายทศนิยม
457.35 =400 + 50 + 7 + 0.3 + 0.05
-
การเรียกตำแหน่งทศนิยม
ถ้ามีตัวเลขหลังจุดทศนิยมกี่ตัว ก็เรียกเท่านั้นตำแหน่งเช่น
- 0.4 , 15.3 , 458.6 เรียกว่า ทศนิยม 1 ตำแหน่ง
0.25 , 25.36 , 25.18 เรียกว่า ทศนิยม 2 ตำแหน่ง
-
การปัดเศษทศนิยม
มีหลักดังนี้
5.1 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 6 ขึ้นไป จะปัดทบเข้ากับตัวเลขหน้า เช่น 56.38 = 56.4
5.2 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าตั้งแต่ 4 ลงมา จะปัดตัวเลขนั้นทิ้งไป เช่น 56.32 = 56.3
5.3 ถ้าตัวเลขทศนิยมที่พิจารณา มีค่าเท่ากับ 5 มีวิธีปัดทศนิยม 2 วิธีคือ
5.4.) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคู่ ก็ตัดตัวเลข 5 ทิ้ง เช่น 4.65= 4.6
5.5. ) ถ้าทศนิยมหน้าเลข 5 เป็นเลขคี่ ให้ปัดทศนิยมขึ้น เช่น 0.75 = 0.8
-
ทศนิยม และเศษส่วน
6.1 การเขียนทศนิยมให้เป็นเศษส่วน
ตัวอย่าง จงเขียน 2.5 ให้เป็นเศษส่วน
วิธีทำ 2.5 = 2 กับ 5 ใน 10
ดังนั้น
6.2 การเขียนเศษส่วนให้เป็นทศนิยม
1.) เศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง สามารถเปลี่ยนเป็นทศนิยมได้เลย เช่น 75/100 = 0.75
2.) เศษส่วนที่ไม่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100 หรือ 10 ยกกำลัง ให้เปลี่ยนเป็นเศษส่วนที่มีส่วนเป็น 10 หรือ 100
หรือ 10 ยกกำลังก่อนเช่น
การบวกและการลบทศนิยม
– หลักเกณฑ์การบวกหรือลบทศนิยม
- ต้องตั้งจุดทศนิยมของจำนวนที่จะบวกหรือลบกันให้ตรงกัน
- ในกรณีที่ตำแหน่งของทศนิยมไม่ว่าจะเป็นตัวตั้ง ตัวบวก หรือตัวลบไม่เท่ากันให้เติมศูนย์ลงไปให้แหน่งเท่ากันได้ เพื่อไม่ให้ผิดพลาดในการยืมเลข
- การหาผลบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นบวกให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนบวก
- การหาผลบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นลบให้นำค่าสัมบูรณ์มาบวกกันแล้วตอบเป็นจำนวนลบ
- การหาผลบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับทศนิยมที่เป็นลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์มาลบกันโดยให้เอาตัวที่มีค่ามากกว่าตั้ง แล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือลบตามจำนวนค่าสัมบูรณ์ที่มีค่าสมบูรณ์มากกว่า
หมายเหตุ การเติมศูนย์ ข้างท้ายทศนิยมนี้ ค่าของทศนิยมจะไม่เปลี่ยนไป เศษส่วนทุกจำนวนสามารถเขียนในรูปทศนิยมซ้ำได้เสมอ
เช่น 2.8 เราสามารถเติม 0 ต่อท้ายเลข 8 ได้โดยค่าไม่เปลี่ยนจะเป็น 2.800 ได้ 0 เรียกว่าทศนิยมซ้ำ
การบวกทศนิยม
จะมี 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนบวก
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลบวกของ 17.26 กับ 205.357
แนวคิด ตามหลักการข้อ1 ข้างบน คือตั้งจุดทศนิยมให้ตรงกันจะได้
17.26 + 205.357
จะเห็นว่าตัวตั้งจำนวนทศนิยมน้อยกว่าเพื่อไม่ให้การบวกคลาดเคลื่อน เราสามารถเติม 0 ท้ายเลข 6 ได้จะเป็น
17.260+
205.357
222.617
ตอบ 222.617
กรณีที่ 2 การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนลบ
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลบวกของ -21.14 + 17.258
แนวคิด ให้ใช้หลักเกณฑ์การบวกลบทศนิยมข้อ 5 คือ เอาค่าสัมบูรณ์มาลบกันแล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือลบตามจำนวนค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่า นั่นคือ
– ค่าสัมบูรณ์ของ -21.14 คือ 21.14
– ค่าสัมบูรณ์ของ 17.258 คือ 17.258
จะได้ 21.140 – เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
17.258
3.882
– เนื่องจาก – 21.14 มีค่าสัมบูรณ์มากกว่า 17.258 แสดงว่าข้อนี้ตอบเป็นลบ คือตอบ = -3.882
ตอบ -3.882
กรณีที่ 3 การบวกทศนิยมที่เป็นจำนวนลบกับจำนวนลบ
ตัวอย่างที่ 3 จงหาผลบวกของ (-121.14) + (-107.258)
แนวคิด ให้ใช้หลักเกณฑ์การบวกลบทศนิยมข้อ 4 คือ เอาค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนลบ นั่นคือ
– ค่าสัมบูรณ์ของ -121.14 คือ 121.14
– ค่าสัมบูรณ์ของ -107.258 คือ 107.258
จะได้ 121.140 + เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
107.258
138.398
นั่นคือ (-121.14) + (-107.258) = -138.698
ตอบ -138.398
การลบทศนิยม
จะมี 3 กรณี คือ
กรณีที่ 1 การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนบวก
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลลบของ 32.266 – 21.45
แนวคิด ให้ใช้หลักเกณฑ์การลบเลขจำนวนเต็มตามปกติ เพราะตัวตั้ง
มีค่ามากกว่าตัวลบอยู่แล้ว นั่นคือ
วิธีทำ 32.266 –
21.450 เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
10.816
ตอบ 10.816
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลลบของ 32.27 – 19.489
แนวคิด ใช้วิธีการเดียวกันตัวอย่างที่ 1 นั่นคือ
32.270 – เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
19.489
12.781
ตอบ 12.781
กรณีที่ 2 การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับจำนวนลบ
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลลบของ 32.266 – (-21.45)
แนวคิด จากโจทย์จะเห็นว่ามีเครื่องหมายลบซ้อนกันคือ ลบด้วยลบ 21.45 หลักการคือการลบกับการลบให้เปลี่ยนเป็นการบวก นั่นคือ จะได้ 32.266 + 21.45
วิธีทำ 32.266+
21.450 เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
53.716
ตอบ 53.716
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลลบของ 12.26 – (-28.459)
แนวคิด จากโจทย์จะเห็นว่ามีเครื่องหมายลบซ้อนกันคือ ลบด้วยลบ 28.459 หลักการคือการลบกับการลบให้เปลี่ยนเป็นการบวก นั่นคือ จะได้ 12.26 + 28.459
วิธีทำ 12.260+
28.459 เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
40.419
ตอบ 40.419
กรณีที่ 3 การลบทศนิยมที่เป็นจำนวนลบกับจำนวนลบ
ตัวอย่างที่ 1 จงหาผลลบของ -12.26 – 28.459
แนวคิด ให้ใช้หลักเกณฑ์การบวกลบทศนิยมข้อ 4 คือ เอาค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนลบ นั่นคือ
– ค่าสัมบูรณ์ของ -12.26 คือ 12.26
– ค่าสัมบูรณ์ของ -28.459 คือ 28.459
จะได้ 12.260 + เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
28.459
40.719
นั่นคือ -12.26 -28.459 = -40.719
ตอบ -40.719
ตัวอย่างที่ 2 จงหาผลลบของ -312.26 – 218.4059
แนวคิด ให้ใช้หลักเกณฑ์การบวกลบทศนิยมข้อ 4 คือ เอาค่าสัมบูรณ์มาบวกกัน แล้วตอบเป็นจำนวนลบ นั่นคือ
– ค่าสัมบูรณ์ของ -312.26 คือ 312.26
– ค่าสัมบูรณ์ของ -218.4059 คือ 218.4059
จะได้ 312.2600 + เติม 0 ตามหลักเกณฑ์ ข้อ 2
218.4059
530.6659
นั่นคือ -312.26 -218.4059 = -530.6659
ตอบ -530.6659
การบวกและลบทศนิยมระคน
แนวคิด
การบวกลบระคนหมายถึงในโจทย์ข้อเดียวจะมีทั้งการบวกและการลบปนกันอยู่ มีหลักการว่าให้เอาจำนวนที่เป็นบวกมารวมกับจำนวนที่เป็นบวก และจำนวนที่เป็นลบมารวมกับจำนวนที่เป็นลบ จากนั้นนำค่าสมบูรณ์ทั้งสองจำนวนมาลบกันโดยให้เอาจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าตั้งลบด้วยจำนวนที่น้อยกว่า การตอบจำนวนใดที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าเครื่องหมายจะเป็นของจำนวนนั้น เช่น
ตัวอย่างที่ 1 จงทำให้เป็นผลสำเร็จ –312.26 + 218.4059- 20.5687+325.451
วิธีทำ จากแนวคิดให้นำเครื่องหมายเดียวกันมารวมกันจะได้ ดังนี้
= {(-312.26)+(-20.5687)}+{(21.4059+325.451)}
= {-332.8287}+{346.8569}
= -332.8287+346.8569
มาถึงตรงนี้จะไปเข้าหลักเกณฑ์ข้อที่ 5 ข้างบน ที่ว่า.- (5. การหาผลบวกระหว่างทศนิยมที่เป็นจำนวนบวกกับทศนิยมที่เป็นลบ ให้นำค่าสัมบูรณ์มาลบกันโดยให้เอาตัวที่มีค่ามากกว่าตั้ง แล้วตอบเป็นจำนวนบวกหรือลบตาม จำนวนค่าสัมบูรณ์ที่มีค่าสมบูรณ์มากกว่า ) จะได้
– ค่าสัมบูรณ์ของ -332.8287 คือ 332.8287
– ค่าสัมบูรณ์ของ 346.8569 คือ 346.8569
346.8569 – เอาตัวที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าตั้ง
332.8287
14.0282
นั่นคือ -332.8287+346.8569 = 14.0282
– ข้อนี้ตอบเป็นบวกเพราะค่าสัมบูรณ์ของ +346.8569 มากกว่า –332.8287
ตอบ 14.0282
ตัวอย่างที่ 2 จงทำให้เป็นผลสำเร็จ –312.26 + 218.4059- 20.5687-325.451
วิธีทำ จากแนวคิดให้นำเครื่องหมายเดียวกันมารวมกันจะได้ ดังนี้.-
= {(-312.26)+(-20.5687)+(-325.451)}+218.4059
= {-658.2797}+218.4059
= -658.2797+218.4059
ถึงตรงนี้นำค่าสัมบูรณ์มาลบกันเอาค่าสัมบูรณ์ที่มากกว่าตั้งจะได้
– ค่าสัมบูรณ์ของ -658.2797 คือ 658.2797
– ค่าสัมบูรณ์ของ 218.4059 คือ 218.4059
658.2797 – เอาตัวที่มีค่าสัมบูรณ์มากกว่าตั้ง
218.4059
409.8738
นั่นคือ -658.2797+218.4059 = -409.8738
– ข้อนี้ตอบเป็นลบเพราะค่าสัมบูรณ์ของ -658.2797 มากกว่า 218.4059
ตอบ -409.8738
เศษส่วนกับทศนิยม
เศษส่วนกับทศนิยมมีความสัมพันธ์กัน เราสามารถเขียนเศษส่วนให้เป็นในรูปทศนิยมได้ หรือเขียนจำนวนที่อยู่ในรูปทศนิยมให้เป็นเศษส่วนได้
จำนวนใด ๆ ก็ตาม ถ้าเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนคือ เมื่อ a และ b เป็นจำนวนเต็มที่ b ≠ 0 เราจะเรียกจำนวนนั้นว่า จำนวนตรรกยะ(rational number)
เราสามารถเขียนเศษส่วนจำนวนใด ๆ ให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เช่น
เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 0.2
เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 0.32
เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 0.4
เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น 3.4
เขียนให้อยู่ในรูปทศนิยมได้เป็น เป็นต้น
หลักการเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมสำหรับเศษส่วนเป็นจำนวนบวก
แบ่งออกเป็น 2 กรณี คือ
กรณีที่ 1) กรณีที่เศษส่วนนั้น ๆ มีส่วนเป็น 10,100,1000,…เช่น
- เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.2
- เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.02
- เขียนในรูปทศนิยมเป็น 0.002 ได้ทันที
จากข้อ 1. – 3. ให้พิจารณาจำนวนตำแหน่งของทศนิยม ถ้าส่วน 10 ทศนิยม 1 ตำแหน่ง ถ้าส่วน 100 ทศนิยม 2 ตำแหน่ง และถ้าส่วนด้วย 1000 ทศนิยม 3 ตำแหน่ง ฯลฯ
นั้นคือจำนวนตำแหน่งของทศนิยมจะเท่ากับจำนวนเลข 0
2.1 ให้เราหาจำนวนใด ๆ ที่มาคูณกับส่วนแล้วส่วนกลายเป็นส่วน10,ส่วน 100 หรือส่วน 1000 ให้ได้ โดยดำเนินการดังนี้คือ
2.1.1 กรณีเศษเป็นส่วนแท้
=>
=
= 0.8 – เอา 2มาคูณทั้งเศษและส่วนเพื่อไม่ให้ค่าเปลี่ยนไปต้องคูณทั้งเศษและส่วน
=>
=
= 0.75 – เอา 25 มาคูณทั้งเศษและส่วนเพื่อไม่ให้ค่าเปลี่ยนไปต้องคูณทั้งเศษและส่วน
2.2 กรณีที่ไม่สามารถหาจำนวนใด ๆ มาคูณแล้วเป็นไปตามข้อ 2.1 คือทำส่วนให้กลายเป็นส่วน10,ส่วน 100 และส่วน 1000 ได้ ให้ดำเนินการเอาตัวส่วนไปหารเศษแบบตั้งหารดังตัวอย่างข้างล่างนี้
2.2.1 ทศนิยมซ้ำ คือจำนวนตรรกยะอย่างหนึ่งในเลขฐานสิบ ที่มีตัวเลขบางชุดปรากฏซ้ำกันโดยไม่สิ้นสุด ซึ่งการซ้ำของตัวเลขอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลัง หรือคร่อมจุดทศนิยม และชุดตัวเลขที่ซ้ำกันอาจจะมีเพียงแค่ตัวเลขตัวเดียวก็ได้ ตัวอย่างเช่น 1/3 = 0.333333… (อ่านว่า ศูนย์จุดสาม สามซ้ำ)
สำหรับทศนิยมที่เขียนให้เลข 0 ตัวสุดท้ายซ้ำกันไปเรื่อยๆ ไม่ถือว่าเป็นทศนิยมซ้ำ เนื่องจากตำแหน่งของทศนิยมจะสิ้นสุดก่อน ถึงเลข 0 ตัวสุดท้าย เพราะการเติมเลข 0 ซ้ำกันไปเรื่อยๆ นั้นไม่มีความจำเป็น คือไม่ทำให้ค่าของตัวเลขเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น 0.56000000… = 0.56
ในกรณีพิเศษอย่างหนึ่งของทศนิยมซ้ำที่ไม่จำเป็น แต่บางครั้งก็มีประโยชน์ นั่นคือการซ้ำของเลข 9 เพียงตัวเดียว ซึ่งเลข 9 ที่ซ้ำทั้งหมดสามารถละทิ้งได้และเพิ่มค่าหลักที่อยู่ก่อนหน้าขึ้นไปหนึ่ง เช่น 0.999999… = 1 หรือ 1.77999999… = 1.78 โดยทั่วไปแล้ว รูปแบบการซ้ำของเลข 9 ใช้อธิบายว่าจำนวนมีที่มาอย่างไร หรือเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่น่าสนใจ อาทิ 1 = 3/3 = 3 × 1/3 = 3 × 0.333333… = 0.999999… ดูเพิ่มที่ 0.999…
ทศนิยมในประเภทอื่นมี ทศนิยมรู้จบ และทศนิยมไม่รู้จบไม่ซ้ำ
ทศนิยมรู้จบ คือจำนวนตรรกยะที่สามารถเขียนแทนด้วยเศษส่วนอย่างต่ำในรูปแบบ k / (2m5n) ซึ่งตัวเศษและตัวส่วนเป็นจำนวนเต็ม และตัวส่วนไม่เท่ากับศูนย์
ทศนิยมไม่รู้จบไม่ซ้ำ คือจำนวนอตรรกยะ ซึ่งไม่สามารถเขียนแทนด้วยอัตราส่วนของจำนวนเต็มสองจำนวนได้สัญกรณ์ ในการเขียนทศนิยมซ้ำให้อยู่ในรูปแบบที่อ่านง่าย ทำได้โดยการเติมขีดแนวนอน (vinculum) ไว้เหนือกลุ่มตัวเลขที่ซ้ำกัน เช่น 1/3 = 0.3 หรือเติมจุดไว้เหนือกลุ่มตัวเลขที่ซ้ำ ในตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสุดท้าย เช่น อย่างไรก็ตาม การใช้จุดประ 3 จุด (…) เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดในการนำเสนอทศนิยมซ้ำ ถึงแม้ว่ายังไม่มีคำแนะนำว่าจะต้องเขียนชุดเลขที่ซ้ำมาก่อนกี่ครั้ง ตัวอย่างเช่น
- 1/9 = 0.111111111111…
- 1/7 = 0.142857142857…
- 1/3 = 0.333333333333…
- 1/81 = 0.0123456790…
- 2/3 = 0.666666666666…
- 7/12 = 0.58333333333…
ในแถบยุโรปมีการใช้สัญกรณ์อย่างอื่นที่ต่างออกไป คือใช้เครื่องหมายวงเล็บล้อมรอบชุดตัวเลขที่ซ้ำ เช่น
- 2/3 = 0. (6)
- 1/7 = 0. (142857)
- 7/12 = 0.58 (3)
เศษส่วนที่มีตัวส่วนเป็นจำนวนเฉพาะ ในเศษส่วนอย่างต่ำที่มีตัวส่วนเป็นจำนวนเฉพาะหนึ่งจำนวน p ที่นอกเหนือจาก 2 และ 5 (ซึ่งเป็นคู่จำนวนเฉพาะของ 10) จะมีค่าเป็นทศนิยมซ้ำเสมอ ซึ่งช่วงของการซ้ำในตัวเลขของ 1/p จะอยู่ที่ p − 1 (เป็นกลุ่มที่หนึ่ง) หรือเท่ากับตัวหารตัวใดตัวหนึ่งของ p − 1 (เป็นกลุ่มที่สอง) อย่างใดอย่างหนึ่ง
ตัวอย่างเศษส่วนในกลุ่มแรกมีดังนี้
- 1/7 = 0.142857…; 6 หลักซ้ำกัน
- 1/17 = 0.0588235294117647…; 16 หลักซ้ำกัน
- 1/19 = 0.052631578947368421…; 18 หลักซ้ำกัน
- 1/23 = 0.0434782608695652173913…; 22 หลักซ้ำกัน
- 1/29 = 0.0344827586206896551724137931…; 28 หลักซ้ำกัน
ซึ่งรวมไปถึงเศษส่วน 1/47, 1/59, 1/61, 1/97, 1/109 ฯลฯ
การคูณบนเศษส่วนในกลุ่มที่หนึ่ง ได้แสดงคุณสมบัติพิเศษอย่างหนึ่งที่น่าสนใจ เช่น
- 2/7 = 2 × 0.142857… = 0.285714…
- 3/7 = 3 × 0.142857… = 0.428571…
- 4/7 = 4 × 0.142857… = 0.571428…
- 5/7 = 5 × 0.142857… = 0.714285…
- 6/7 = 6 × 0.142857… = 0.857142…
ซึ่งดูเหมือนว่า ตัวเลขที่ซ้ำกันในผลคูณจะได้มาจากการเลื่อนวนของ 1/7 แต่สาเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมการเลื่อนวนนั้นมาจากการคำนวณเลขคณิตในตัวเลข หลังทศนิยมเท่านั้น ซึ่งเศษส่วนในกลุ่มที่หนึ่งตัวอื่นๆ เช่น 1/17, 1/19, 1/23 ฯลฯ จะมีคุณสมบัติพิเศษเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
เศษส่วนในกลุ่มที่สอง คือเศษส่วนที่นอกเหนือจากกลุ่มที่หนึ่งตามเงื่อนไขในตอนต้น อาทิ
- 1/3 = 0.333…; 1 หลักซ้ำกัน ซึ่ง 1 เป็นตัวหารของ 2
- 1/11 = 0.090909…; 2 หลักซ้ำกัน ซึ่ง 2 เป็นตัวหารของ 10
- 1/13 = 0.076923…; 6 หลักซ้ำกัน ซึ่ง 6 เป็นตัวหารของ 12
โปรดสังเกตว่า การคูณเศษส่วน 1/13 ก็สามารถเกิดการเลื่อนวนในตัวเลขที่ซ้ำกัน และจะแบ่งออกเป็นสองชุด ชุดแรกได้แก่
- 1/13 = 0.076923…
- 3/13 = 0.230769…
- 4/13 = 0.307692…
- 9/13 = 0.692307…
- 10/13 = 0.769230…
- 12/13 = 0.923076…
และอีกชุดหนึ่งได้แก่
- 2/13 = 0.153846…
- 5/13 = 0.384615…
- 6/13 = 0.461538…
- 7/13 = 0.538461…
- 8/13 = 0.615384…
- 11/13 = 0.846153…
การสร้างเศษส่วนจากทศนิยมซ้ำ บนทศนิยมซ้ำใดๆ สามารถคำนวณเพื่อเปลี่ยนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้
ดังตัวอย่าง
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง
และเมื่อทศนิยมซ้ำสามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนได้ ทศนิยมซ้ำจึงเป็นจำนวนตรรกยะเสมอ
วิธีลัด ถ้าทศนิยมซ้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 0.1 ถึง 1 และมีตัวเลขที่ซ้ำกันเป็นจำนวน n หลักทางขวาของจุดทศนิยม เราจะเขียนเศษส่วนได้โดยให้ตัวเศษเป็นชุดของตัวเลขที่ซ้ำ และเติมตัวส่วนเป็นเลข 9 จำนวน n ตัว เช่น
- 0.444444… = 4/9 เนื่องจากชุดเลขซ้ำคือ “4″ ซึ่งมี 1 หลัก
- 0.565656… = 56/99 เนื่องจากชุดเลขซ้ำคือ “56″ ซึ่งมี 2 หลัก
- 0.789789… = 789/999 เนื่องจากชุดเลขซ้ำคือ “789″ ซึ่งมี 3 หลัก
ถ้าทศนิยมซ้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 0.1 และมีเพียงเลข 0 จำนวน k หลัก นำหน้าชุดเลขซ้ำ n หลัก (ทั้งหมดต้องอยู่ทางขวาของจุดทศนิยม) ดังนั้นตัวเศษจะเป็นชุดเลขซ้ำ และตัวส่วนประกอบด้วยเลข 9 จำนวน n ตัว และเพิ่มเลข 0 จำนวน k ตัวลงไปด้วย เช่น
- 0.000444… = 4/9000 เนื่องจากชุดเลขซ้ำคือ “4″ และนำด้วย “0″ จำนวน 3 หลัก
- 0.005656… = 56/9900 เนื่องจากชุดเลขซ้ำคือ “56″ และนำด้วย “0″ จำนวน 2 หลัก
- 0.0789789… = 789/9990 เนื่องจากชุดเลขซ้ำคือ “789″ และนำด้วย “0″ จำนวน 1 หลัก
สำหรับทศนิยมอื่นที่นอกเหนือจากนี้ สามารถเขียนเป็นการบวกของทศนิยมรู้จบ กับทศนิยมซ้ำในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งดังที่กล่าวไว้แล้ว ดังตัวอย่าง
- 1.23444… = 1.23 + 0.00444… = 123/100 + 4/900 = 1107/900 + 4/900 = 1111/900
- 0.3789789… = 0.3 + 0.0789789… = 3/10 + 789/9990 = 2997/9990 + 789/9990 = 3786/9990 = 631/1665
อย่างไรก็ตาม การใช้วิธีลัดจะยังไม่ให้ผลเป็นเศษส่วนอย่างต่ำ ซึ่งจะต้องทำการลดทอนต่อไปด้วยตัวเอง
หลักการเขียนเศษส่วนให้อยู่ในรูปของทศนิยมสำหรับเศษส่วน
เป็นจำนวนลบ
ในกรณีที่เศษส่วนเป็นจำนวนลบ ( – ) ทศนิยมจะเป็นจำนวนลบด้วย ส่วนวิธีการแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยมดำเนินการเช่นเดียวกับเศษส่วนที่เป็นจำนวนบวก ตัวอย่างเช่น:-
เขียนในรูปทศนิยมเป็น -0.3 = -1+ = -1+0.3 = -1.3
เขียนในรูปทศนิยมได้ = -1.3
สรุปง่าย ๆ คือ ยกเครื่องหมายลบ( – ) ออกมาแล้วดำเนินการแปลงเหมือนกันกับจำนวนที่เป็นบวก คือเหมือน การณีที่ 1) หรือ กรณีที่ 2) เมื่อได้คำตอบแล้วก็ติดเครื่องหมายลบเข้าไป
หลักการเขียนทศนิยมกลับมาเป็นเศษส่วน
เราสามารถที่จะแปลงทศนิยมให้เป็นเศษส่วนได้เช่นเดียวกับการแปลงเศษส่วนเป็นทศนิยม เช่น
1) – 0.3 เขียนในรูปเศษส่วนได้ =
2) 0.45 เขียนในรูปเศษส่วนได้ =
3) 1.105 เขียนในรูปเศษส่วนได้ =
จะเห็นได้ว่าทศนิยมที่แปลงกลับไปเป็นเศษส่วน ตัวส่วนจะมีเลขศูนย์ที่ต่อท้ายเลข 1 เท่ากับจำนวนตำแหน่งของทศนิยม อย่างในข้อ 3 ) มีทศนิยม สามตำแหน่งตัวส่วนก็จะเป็น 1000 ลองดูต่อที่ข้อ 2) และข้อ 1) ประกอบ
การเปรียบเทียบทศนิยม
การเปรียบเทียบจำนวนที่อยู่ในรูปของทศนิยม ดำเนินการได้ 2 กรณี คือ
1) กรณีเปรียบเทียบทศนิยมบวก ให้ดำเนินการดังนี้
1.1 ให้เรานำทศนิยมที่จะเปรียบเทียบมาเขียนเรียงกันคนละบรรทัดโดยให้จุดทศนิยมตรงกัน เช่น
2.357
3.26
1.2 พิจารณาตัวเลขโดดแต่ละหลัก โดยให้พิจารณาหลักที่อยู่ทางซ้ายมือสุดเราก่อน ตรงนี้ไม่ต้องไปสนใจจุดทศนิยม จำนวนใดที่มีค่าของตัวเลขโดดมากกว่า ทศนิยมจำนวนนั้นจะมากกว่า
2.357
3.26
กรณีทศนิยมสองจำนวนนี้ 3 > 2 แสดงว่า 3.26 มีค่ามากกว่า 2.357
1.3 ในกรณีที่หลักซ้ายมือสุดตามข้อ 1.2 เท่ากัน ให้พิจารณาหลักถัดมาทางขวามือของเรา และถ้าเท่ากันอีกก็ให้พิจารณาหลักถัดมาทางขวามืออีก ทำไปเรื่อย ๆ เช่น จนเจอตัวเลขโดดที่มากกว่า
3.5675
3.658
– จากตัวอย่างข้างบน 3 (อยู่ทางซ้ายมือสุดตามกติกาข้อ 1.1) เท่ากันเลื่อนมาดูเลขโดดหลักถัดมาทางขวามือคือ 5 กับ 6 จะเห็นว่า 6 > 5
นั่นคือ 3.658 มากกว่า 3.5675
หรือ จงเปรียบเทียบ 5.2358 กับ 5.2349
5.235
5.2349
นั่นคือ 5.235 มากกว่า 5.2349 เนื่องจากหลักที่ 1 , 2 , 3 เรียงจากทางซ้ายมือสุดมาตามลำดับ เท่ากัน แต่หลักที่ 4 คือ 5 > 4 จึงทำให้ 5.235 มากกว่า 5.2349
ตอบ 5.235 > 5.2349
2) กรณีเปรียบเทียบทศนิยมลบ ให้ดำเนินการดังนี้
2.1 ให้นำค่าสัมบูรณ์ของแต่ละจำนวนมาเปรียบเทียบกัน และให้ดำเนินการเหมือนกับข้อ 1) ทุกประการ แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วจำนวนที่มีค่าสัมบูรณ์น้อยกว่าจะมีค่ามากกว่า เช่น
ตัวอย่าง จงเปรียบเทียบ -3.452 กับ -2.542 จำนวนใดมีค่ามากกว่ากัน
แนวคิด ค่าสัมบูรณ์หมายถึงค่าที่ไม่มีเครื่องหมายติดลบ เช่น -3.452 ค่าสัมบูรณ์
คือ 3.452 และ -2.542 ค่าสัมบูรณ์คือ 2.542
– นั่นคือให้เราเอาเครื่องหมายลบออกไปไว้ที่อื่นก่อนนั่นเอง
วิธีทำ -3.452 ค่าสัมบูรณ์คือ 3.452
-2.542 ค่าสัมบูรณ์คือ 2.542
พิจารณาตามข้อ 1) ข้างบน จะเห็นว่า 3.452 > 2.542
-2.542 > -3.452
ตัวอย่าง จงเรียงลำดับทศนิยมต่อไปนี้จากมากไปหาน้อย -2.536,-1.724,-1.731,0.563,0.51
แนวคิด ให้นำค่าสัมบูรณ์ของทศนิยมแต่ละคู่มาเทียบกันก่อน โดยใช้วิธีการตามที่กล่าวไว้ในข้อ 1) และข้อ 2) ข้างบน ดังนี้
1) 0.563 > 0.51
2) 0.51 > -1.724
3) -1.724 > -1.731
4) -1.731 > -2.536
ดังนั้นเราสามารถเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้
0.563 , 0.51 , -1.724 , -1.731 , -2.536
สรุป เมื่อเราดำเนินการตามแนวคิดข้างบนแล้ว เราจะเรียบจากน้อยไปหามาก
เศษส่วนและการเปรียบเทียบเศษส่วน
การบวกและการลบเศษส่วน
การบวกและการลบเศษส่วน ไม่เหมือนการบวกลบในตัวเลขจำนวนเต็ม สำหรับเลขจำนวนเต็ม สามารถลบกันได้เลย แต่การบวกและการลบแบบเศษส่วน จะต้องทำให้ส่วนเท่ากันเสียก่อน จึงจะสามารถบวกลบกันได้ การบวกลบเศษส่วนของจำนวน 2 จำนวนที่มีส่วนเท่ากันให้นำเศษมาบวกกัน ตัวเลขที่เป็นส่วน คงไว้เท่าเดิม (เศษ หมายถึงตัวเลขข้างบน ส่วน หมายถึงตัวเลขข้างล่าง) ดังนั้น เอาเฉพาะตัวเลขข้างบนบวกลบกัน ตัวเลขข้างล่าง คงไว้เท่าเดิม
การบวกลบเศษส่วนแบ่งออกเป็น 2 กรณี ดังนี้
- การบวกและการลบเศษส่วนเท่ากัน
ให้นำตัวเศามาบวกหรือลบกันตามเครื่องหมาย แล้วตัวส่วนคงเดิม
- การบวกและการลบเศษส่วนที่มีตัวส่วนไม่เท่ากัน
ใช้วิธีทำให้ตัวส่วนเท่ากันก่อน แล้วจึงนำตัวเศษมาบวกหรือลบกัน
การคูณและการหารเศษส่วน
การคูณเศษส่วน
หลักการคูณเศษส่วน มีดังนี้
- การคูณเศษส่วนด้วยจำนวนนับ ให้นำจำนวนนับมาคูณกับตัวเศษ โดยตัวส่วนคงเดิม หรือถ้าตัวส่วนหารจำนวนนับลงตัว ให้นำตัวส่วนหารจำนวนนับแล้วจึงคูณกับตัวเศษ
- การคูณเศษส่วนด้วยเศษส่วน ให้นำตัวเศษคูณกับตัวเศษ และนำตัวส่วนคูณกับตัวส่วน หรือถ้ามีตัวประกอบร่วมของตัวเศษและตัวส่วน ให้นำตัวประกอบร่วมมาหารทั้งตัวเศษและตัวส่วนก่อ
- การคูณเศษส่วนด้วยจำนวนคละ ใช้วิธีทำจำนวนคละให้เป็นเศษเกินก่อน แล้วจึงนำตัวเศษคูณกับตัวเศษ และนำตัวส่วนคูณกับตัวส่วน
การหารเศษส่วน
การหารเศษส่วน การหารจำนวนใดๆ ด้วยเศษส่วน อาจคิดได้จากการนำจำนวนนั้นมาคูณกับส่วนกลับของเศษส่วนที่เป็นตัวหาร และการหารเศษส่วนด้วยจำนวนนับอาจคิดได้จากการคูณเศษส่วนที่เป็นตัวตั้งกับส่วนกลับของจำนวนที่เป็นตัวหาร
หลักการหารเศษส่วน มีดังนี้
- การหารเศษส่วนด้วยเศษส่วนคือ การแบ่งเศษส่วนออกเป็นส่วนเท่าๆกัน หาคำตอบได้จากการคูณจำนวนนั้นกับส่วนกลับของเศษส่วนที่เป็นตัวหาร
- การหารเศษส่วนด้วยจำนวนเต็มคือ การแบ่งเศษส่วนที่มีอยู่ออกเป็นส่วนเท่าๆกัน คิดได้จากการคูณเศษส่วนที่เป็นตัวตั้งกับส่วนกลับของจำนวนนับที่เป็นตัวหาร
- การหารเศษส่วนด้วยจำนวนคละ คือ การแบ่งเศษส่วนออกเป็นส่วนเท่าๆกัน แต่ในการหาคำตอบต้องทำจำนวนคละให้เป็นเศษเกินก่อน
อ้างอิงจาก
นางสาวจิรารัตน์ เจริญรูป 5615020001076
คณะครุศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
http://www.tutormathphysics.com/index.php/component/content/article/165-math-p5-1-no7/1346-math-p5-1-no7-1.html