About Lesson
声调 : เสียงวรรณยุกต์
1. วรรณยุกต์ในภาษาจีนมี 4 เสียง ดังนี้
เสียง 1 : ตี้ อี เซิง เทียบเสียง “ สามัญ ” ของวรรณยุกต์ไทย
เสียง 2 : ตี้ เอ้อร์ เซิง เทียบเสียง “ จัตวา ” ของวรรณยุกต์ไทย
เสียง 3 : ตี้ ซาน เซิง เทียบเสียง “ เอก ” ของวรรณยุกต์ไทย
เสียง 4 : ตี้ ซื่อ เซิง เทียบเสียง “ โท ” ของวรรณยุกต์ไทย
เครื่องหมายทั้ง 4 นี้ ภาษาจีนสามารถเทียบเสียงกับวรรณยุกต์ภาษาไทยได้ดังนี้
2. เสียงเบา 轻声
เสียงเบา หมายถึง เสียงที่เปล่งออกมาต่อจากพยางค์ก่อนหน้านั้นอย่างกระชั้นชิด มีลักษณะการออกเสียงสั้นและเบากว่าเสียงทั่วไป เสียงเบาที่อยู่หลังวรรณยุกต์เสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสาม จะออกเสียงต่ำต่อเนื่องจากเสียงวรรณยุกต์ก่อนหน้า ส่วนเสียงเบาที่อยู่หลังวรรณยุกต์เสียงสาม จะออกเสียงสูงขึ้นจากระดับเสียงของพยางค์หน้าเล็กน้อย เช่น
妈妈 māma มาหม่ะ แม่
爷爷 yéye เย๋เย ปู่
奶奶 năinai ไหน่ไน ย่า
爸爸 bàba ป้าปะ พ่อ
กฎของการเติมวรรณยุกต์
1. เครื่องหมายวรรณยุกต์จะใส่ไว้ตรงสระเท่านั้น ห้ามใส่ไว้บนพยัญชนะ
2. ห้ามใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้บน –n –ng
3. ตำแหน่งการใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ จะใส่ไว้ตามลำดับสระพี่น้องดังนี้
1 ( คนโต ) |
2 |
3 |
4 ( ฝาแฝด ) |
5 |
|
aอา |
oโอ |
eเออ |
iอี |
uอู |
üอวี |
EX: bāo gěi liè nüē tū
เปา เก่ย เลี่ย เนวีย ทู
4. กรณีที่เป็นสระ ü(อวี)ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ไว้ข้างบนจุดจุด เช่นnǚ(หนวี่)
5. กรณีที่เป็นสระ i (อี)ให้ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์ทับจุด เช่น lī(ลี)
6. กรณีที่เป็นสระฝาแฝด( i อี u อู)ให้วางวรรณยุกต์ไว้ที่สระด้านหลักเสมเช่น duī , diū
7. กรณีที่เสียงวรรรยุกต์เสียงที่ 3 เจอเสียงวรรณยุกต์เสียงที่ 3 ด้วยกัน เสียงข้างหน้าจะเปลี่ยนเป็นเสียงที่ 2 เช่น
8. กรณีเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ของ 一
9. กรณีเปลี่ยนเสียงวรรณยุกต์ 不