About Lesson
หน่วยที่2 สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที
1. ความหมาย ของ สถานภาพ บทบาท สิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของพลเมืองดี
1.1 สถานภาพ หมายถึง ตำแหน่งที่บุคคลได้รับจากการเป็นสมาชิกของสังคม แบ่งออกเป็นสถานภาพที่ได้มาโดยกำเนิด เช่น ลูก หลาน คนไทย เป็นต้น และสถานภาพทางสังคม เช่น ครู นักเรียน แพทย์ เป็นต้น
1.2 บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิ หน้าที่อันเนื่องมาจากสถานภาพของบุคคล เนื่องจากบุคคลมีหลายสถานภาพในคนคนเดียว ฉะนั้นบทบาทของบุคคลจึงต้องปฏิบัติไปตามสถานภาพในสถานการณ์ตามสถานภาพนั้น ๆ
1.3 สิทธิ หมายถึง อำนาจหรือผลประโยชน์ของบุคคลที่กฎหมายให้ความคุ้มครอง เช่น สิทธิเลือกตั้ง กฎหมายกำหนดให้บุคคลที่มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์มีคุณสมบัติถูกต้องตามกฎหมายมีสิทธิเลือกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
1.4 เสรีภาพ หมายถึง ความมีอิสระในการกระทำของบุคคลที่อยู่ในของเขตของกฎหมาย เช่น เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น
1.5 หน้าที่ หมายถึง ภาระรับผิดชอบของบุคคลที่จะต้องปฏิบัติ เช่น หน้าที่ของบิดาที่มีต่อบุตร เป็นต้น
2. หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้กล่าวถึงหน้าของชนชาวไทยตามระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งเป็นหน้าที่ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายสูงสุดของประเทศ ซึ่งทุกคนจะต้องรักษาและปฏิบัติตามจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ พอสรุปได้ ดังนี้
2.1 การรักษาชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
– การรักษาชาติ
– การรักษาศาสนา
– การรักษาพระมหากษัตริย์และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
2.2 การปฏิบัติตามกฎหมาย
เมื่อเราต้องเกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับกฎหมายใดก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายนั้นๆ อย่างเคร่งครัด เพราะกฎหมายแต่ละฉบับนั้นได้มีการร่างและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาอย่าง เปิดเผยต่อหน้าสาธารณชน
2.3 การไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
สามารถลงชื่อถอดถอน (20,000 คน) แต่ถ้าไม่มาใช้หน้าที่ก็จะไม่มีสิทธิ์ในการลงสมัครเลือกตั้ง
2.4 การพัฒนาประเทศ
– การป้องกันประเทศ
– การรับราชการทหาร
– การเสียภาษีอากร
– การช่วยเหลือราชการ
– การศึกษาอบรม
– การพิทักษ์ปกป้องและสืบสานศิลปะ วัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น
– การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.5 การปฏิบัติงานตามกฎหมายเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
3. แนวทางการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตย
พลเมืองดีตามวิถีชีวิตประชาธิปไตยควรมีแนวทางการปฏิบัติตนดังนี้ คือ
3.1 ด้านสังคม ได้แก่
– การแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
– การรับฟังข้อคิดเห็นของผู้อื่น
– การยอมรับเมื่อผู้อื่นมีเหตุผลที่ดีกว่า
– การตัดสินใจโดยใช้เหตุผลมากกว่าอารมณ์
– การเคารพระเบียบของสังคม
– การมีจิตสาธารณะ คือ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมและรักษาสาธารณสมบัติ
จิตอาสา
3.2 ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่
– การประหยัดและอดออมในครอบครัว
– การซื่อสัตย์สุจริตต่ออาชีพที่ทำ
– การพัฒนางานอาชีพให้ก้าวหน้า
– การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
– การสร้างงานและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมไทยและสังคมโลก
– การเป็นผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ดี มีความซื่อสัตย์ ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่ดีต่อชาติเป็นสำคัญ
สถาบันการเมือง
3.3 ด้านการเมืองการปกครอง ได้แก่
– การเคารพกฎหมาย
– การรับฟังข้อคิดเห็นของทุกคนโดยอดทนต่อความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
– การยอมรับในเหตุผลที่ดีกว่า
4.การซื่อสัตย์ต่อหน้าที่โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน
– การกล้าเสนอความคิดเห็นต่อส่วนรวม กล้าเสนอตนเองในการทำหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา
– การทำงานอย่างเต็มความสามารถ เต็มเวลา