ลักษณะการถ่ายวีดีโอ
1. 10 วินาที การถ่ายวีดีโอในแต่ละช็อต ควรจะมีความยาวอย่างน้อย 10 วินาที เพราะจะสะดวกในการตัดต่อวีดีโอ
2. การถือกล้องวีดีโอ เราควรจะเอามือสอดเข้าไปใน grip เพื่อป้องกันการตกหล่น ในกรณีที่เราไม่ได้ใช้ขาตั้งกล้อง เราควรจะหาที่วางให้กับข้อศอกของเรา เช่น พนักเก้าอี้ ท้อง หัวเข่า เพื่อป้องกันการสั่นไหวในขณะถ่าย
3. Pan คือ การหมุนกล้องจากซ้ายไปขวาหรือขวามาซ้าย เราควรจะหมุนฝั่งใดฝั่งหนึ่งถือเป็น 1 ช็อต ไม่ควรหมุนไปมา จะทำให้คนดูงง
4. Tilt คือ การหมุนกล้องขึ้นบนหรือลงล่าง ใช้หลักการเดียวกับการแพน นั่นคือ หมุนฝั่งเดียวถือเป็น 1 ช็อต
5. Zoom เป็นการเปิดเผยรายละเอียดของภาพในขณะนั้น เวลาเราซูมจะทำให้ภาพมีโอกาสสั่นไหวมากขึ้น ถ้าเป็นไปได้ให้เราเดินเข้าไปถ่ายได้จะดีกว่า
6. Dolly คือ การเคลื่อนที่กล้องจากซ้ายไปขวาหรือขวามาซ้าย ซึ่งจะให้ภาพที่สวยงามกว่าการแพน แต่เราต้องใช้อุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น สไลเดอร์ หรือ stedicam ช่วยในการถ่าย
การจัดองค์ประกอบของภาพ
1. Head room and Space room เราควรเว้นระยะพื้นที่ระหว่างศีรษะกับขอบด้านบน และระยะพื้นที่ด้านหน้าและด้านหลังของผู้พูดในวีดีโอ
2. กฏ 3 ส่วน ใช้สำหรับการถ่ายวิวทิวทัศน์กับท้องฟ้า โดยแบ่งพื้นที่ในภาพออกเป็น 3 ส่วน ให้เราเลือกว่าจะให้วิวกับท้องฟ้าคนละกี่ส่วน
3. จุด ตัด 9 ช่อง แบ่งพื้นที่ในภาพโดยใช้เส้น 3 เส้นในแนวนอนและแนวตั้งตัดกัน จะมีจุดทั้งหมด 9 จุด เราจะวางตำแหน่งของวัตถุให้ตรงกับจุดตัดของเส้น จะทำให้ภาพของเราดูโดดเด่นมากยิ่งขึ้น
4. เส้นนำสายตา เช่น เวลาเราเจอภาพที่มีลักษณะเป็นแถวเป็นแนว ของวางเรียงกัน ทางรถไฟ เดินแถว ดูแล้วจะสวยงาม
มุมมองในการถ่ายวีดีโอ
1. Normal view มุมมองในระนาบปกติ
2. Bird eyes view มุมมองของนก มองจากด้านบนลงล่าง
3. Worm eyes view มุมมองของหนอน มองจากด้านล่างขึ้นบน
รูปแบบการเพิ่มสีสันให้กับวีดีโอ
1. Silhouette การถ่ายวีดีโอย้อนแสง ทำให้วัตถุกลายเป็นสีดำ ถ่ายในช่วงใกล้พระอาทิตย์ตกดิน
2. Depth of Field ความชัดตื้นชัดลึกของวัตถุ ขึ้นอยู่กับการตั้งค่ารูรับแสง ถ้ารูรับแสงกว้างจะได้ภาพชัดตื้น
วิธีตั้งค่าต่างๆของกล้อง
1. Exposure รูรับแสงกว้าง แสงจะเข้ามาได้เยอะ ภาพมีความสว่าง
2. White Bal ance อุณหภูมิของแสงมีหย่วยเป็นเคลวิน มีทั้งแบบ Day light คือ แบบ outdoor อยู่ในช่วง 5400 K, แบบ Tungsten จะให้แสงออกเป็นสีเหลือง อยู่ใน
ช่วง 3200 K