Course Content
คอมพิวเตอร์ กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญาณต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง
0/20
มัลติมีเดีย 02
สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
0/10
คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย 1 ว 32293 มัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
About Lesson

วิวัฒนาการของกล้องถ่ายภาพเริ่มจากมีผู้สังเกตุเห็น ภาพเหมือนในลักษณะกลับหัวบนผนังภายในห้องที่ทึบและอับแสง ภาพดังกล่าวเกิดจากแสงของภาพวิวภายนอกลอดผ่านรูเล็ก ๆ ที่ผนังห้องไปก่อเกิดภาพเหมือนบนผนังอีกด้านที่อยู่ฝั่งตรงข้ามของห้อง … ออบสคิวรา (Camera Obscura) คำว่า “camera” มีความหมายว่า “ห้อง” ส่วน “Obscura” มีความหมายว่า “ความมืด” ในปีค.ศ.1558 นาย Giovanni Battista della Porta ได้เขียนบทความแนะนำให้ใช้กล้องออบสคิวราเป็นเครื่องมือในการวาดภาพ และในช่วงเวลาของพระ Johannes Zahn (1641–1707) ท่านได้ออกแบบกล้อง ออบสคิวราแบบพกพาไว้หลายแบบ และยังมีการใช้กระจกติดไว้ด้านหลังของกล้องสะท้อนแสงขึ้นไปปรากฏภาพที่ด้านบนของกล้อง ทำให้ภาพที่ได้ไม่กลับหัวอีกต่อไป ประจวบกับในช่วงคริสตวรรษที่ 16 ได้มีการประดิษฐ์กล้องส่องทางไกล จึงมีการนำเลนส์มาใส่ที่ช่องรับแสงแทนรูเข็ม ทำให้ได้ภาพที่สว่างและคมชัดขึ้น

 

ในปีค.ศ. 1889
ผู้ใช้กล้อง Kodak เมื่อถ่ายภาพจนหมดม้วนก็จะนำฟิล์มมาส่งให้บริษัท Kodak เพื่อเป็นผู้จัดทำขบวนการสร้างภาพ ต่อมาในปีค.ศ. 1900 บริษัทยังได้ออกกล้องรุ่นใหม่มีชื่อว่า “Brownie” เป็นกล้องราคาประหยัดและได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง กล้อง Brownie ออกมาอีกหลายรุ่น บางรุ่นยังมีจำหน่ายจนสิ้นทศวรรษ 1960 ผลการประดิษฐ์ฟิล์มม้วนของ Kodak ยังเป็นก้าวสำคัญในการประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนต์ของนาย Thomas Edison’s ในปีค.ศ. 1891

ในปีค.ศ. 1913
นาย Oskar Barnack จากสถาบัน Ernst Leitz Optishe Werke   ได้มีการประดิษฐ์ต้นแบบกล้อง 35 มม. และผลิตออกจำหน่ายในปีค.ศ. 1925 ใช้ชื่อกล้องว่า “Leica I” กล้อง 35 มม.ได้เป็นที่นิยมเพราะขนาดกระทัดรัด และฟิล์มที่ใช้ได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ เป็นผลให้ผู้ผลิตกล้องต่างก็ลงมาแข่งขันในตลาดนี้

ในปีค.ศ. 1927
บริษัทไฟฟ้า General Electric ได้ประดิษฐ์หลอดไฟแฟลชใช้สำหรับถ่ายภาพในพื้นที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอ ซึ่งก่อนหน้านี้การให้แสงสว่างทำได้โดยใช้ผงเคมีทำปฏิกริยากันจนเกิดแสงจ้าซึ่งถูกคิดค้นโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมัน

ในปีค.ศ. 1928
นาย Franke & Heidecke Roleiflex ได้นำเสนอกล้อง Rolleiflex เป็นกล้องขนาดเหมาะกับการพกพาใช้ฟิล์มขนาด 120 ประกอบด้วยเลนส์สองชุด ชุดหนึ่งใช้สำหรับบันทึกภาพ อีกชุดหนึ่งใช้กระจกสะท้อนให้เกิดภาพบนกระจกฝ้าสำหรับมองภาพ เรียกว่า กล้องระบบสะท้อนภาพเลนส์คู่ (Twin-lens Reflex Cameras เรียกย่อ ๆ ว่า TLR) ในปีค.ศ. 1933 นาย Ihageen Exakgta ได้ออกกล้องระบบสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (Single-lens Reflex Camera เรียกย่อๆ ว่า SLR) กล้องดังกล่าวใช้ฟิล์ม 120 ความเป็นจริงในยุคนั้นมีการผลิตกล้อง TLR และ SLR อยู่ก่อนแล้ว แต่กล้องของ Rolleiflex กับ ของ Exakgata มีขนาดกระทัดรัดพกพาสะดวก จึงเป็นที่นิยมมากกว่า และอีก 3 ปีให้หลัง Kine Exakta ได้ออกกล้อง SLR ที่ใช้ฟิล์มขนาด 35 ม.ม. ซึ่งเป็นแบบที่สามารถทำตลาดได้ดี ทำให้มีผู้ผลิตกล้องประเภทนี้ออกมาเป็นจำนวนมาก ในปีค.ศ. 1947 กล้อง Duflex ได้มีการใช้ปริซึมห้าเหลี่ยม (Pentaprism) ในการสะท้อนภาพทำให้มีช่องมองภาพอยู่ด้านหลังของกล้องแทนที่ดูจากด้านบนเหมือนกล้องอื่นๆ ในยุคนั้นช่วงเวลาเดียวกันนี้เอง ได้กำเนิดกล้อง  Hasselblad 1600F ซึ่งถือเป็นมาตรฐานสำหรับกล้อง SLR ขนาดกลางซึ่งใช้ฟิล์ม 120