Course Content
E-Commerce
จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ ลดความสำคัญขององค์ประกอบธุรกิจบางส่วน เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เพื่อประหยัดต้นทุนธุรกิจ การทำ E-Commerce ให้ธุรกิจประสบความสำเร็จ ควรทำอย่างไร
0/1
การจัดการธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์
About Lesson

E-Commerce คงเป็นคำที่คุ้นหูคุ้นความทรงจำใครหลายๆ คนใช่ไหม เพราะมันเป็นรูปแบบการทำธุรกิจที่กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากของยุคนี้ โดยคำนี้ย่อมาจากคำว่า Electronic Commerce แปลง่ายๆ ว่าเป็นการทำการค้าขายสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต ผ่านช่องทางต่างๆ เช่น แอปพลิเคชัน, เว็บไซต์, หรือแพลตฟอร์ม Social Media นั่นเอง

กระแสการทำธุรกิจรูปแบบนี้มีมาสักระยะแล้ว และเพราะในสถานการณ์ Covid-19 ที่เกิดขึ้น ก็ยิ่งทำให้การทำธุรกิจรูปแบบนี้กลายเป็นนิยมมากขึ้น จนนักการตลาดหรือผู้ประกอบการ หันมาปรับเปลี่ยนการทำธุรกิจของตัวเองให้เป็น E-Commerce มากขึ้น

แต่จะให้เปลี่ยนจากการทำธุรกิจเดิมๆ ให้เป็น E-Commerce เลย แบบไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ยก็คงจะเสี่ยงเกิดไป วันนี้แอดเลยข้อเสนอ ข้อดี-ข้อเสีย ของการทำธุรกิจแบบ E-Commerce ให้ผู้ประกอบการได้เข้าใจพื้นฐานที่สำคัญก่อนที่จะก้าวเข้าสู่ช่องทางใหม่นี้ ด้วยความเสี่ยงที่น้อยลง

E-Commerce (Electronic Commerce) คือ

ตอนเกริ่นแอดได้อธิบายความหมายของ E-Commerce ให้ฟังแบบง่ายๆ แล้ว คราวนี้จะอธิบายแบบเป็นทางการบ้าง (รู้เอาไว้ไม่เสียหาย) E-Commerce ก็คือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าหรือการบริการโดยผ่านตัวกลางก็คือ อินเทอร์เน็ต ซึ่งมีช่องทางการอำนวยความสะดวกหลากหลายช่องทาง เช่น แอปพลิเคชัน, เว็บไซต์, แพลตฟอร์ม Social Media

ด้วยความสะดวกสบายของอินเทอร์เน็ตที่ถูกพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการด้านการสื่อสาร ส่งผลไปยังการพัฒนาการทำธุรกิจ ที่ทำให้ผู้คนทั่วโลกสามารถติดต่อสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนความต้องการบางอย่างได้อย่างอิสระมากขึ้น โดยมีข้อดีหลักๆ ดังนี้

(1.1) สื่อสารกับผู้บริโภคได้ง่ายด้วยอินเทอร์เน็ต

ด้วยระบบอินเทอร์เน็ตทำให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งที่ต้องการกันได้อย่างอิสระ การ ‘โฆษณา’ จึงกลายเป็นสิ่งที่ทำได้ง่ายมากขึ้น จากนั้นก็อยู่ที่ว่าผู้ประกอบการจะทำยังไงให้เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคจนทำให้เขาเป็นลูกค้าของเราได้

(1.2) ทำได้ด้วยตัวเอง ลดค่าใช้จ่ายด้านบุคลากร

เนื่องจากแพลตฟอร์มหรือเครื่องมือต่างๆ สามารถตอบโจทย์การทำงานค้าขายได้ทุกรูปแบบ เพียงแค่วิธีการทำงานจะต่างจากเดิม ทำให้ผู้ประกอบการสามารถควบคุมธุรกิจของตัวเองได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ถ้ามองในระยะยาวการสร้างระบบให้ดำเนินไปเอง ก็เป็นปลายทางของการทำธุรกิจเช่นกัน

(1.3) มี Tool ที่ใช้สำรวจความต้องการของผู้บริโภค

ด้วยเครื่องมือต่างๆ ทำให้เราเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคเบื้องต้นได้ง่ายๆ ไม่ต้องออกไปทำการสำรวจด้วยตัวเอง แต่ก็ต้องอาศัยการคาดเดาพฤติกรรมผู้บริโภคจากผู้ประกอบการอยู่ดี ฉะนั้นให้มองว่าเครื่องมือเหล่านี้แค่มีบทบาทเป็นผู้ช่วย ไม่ได้มาทำแทน

(1.4) ไม่ต้องสต๊อคสินค้าก่อน

เราไม่จำเป็นจะต้องซื้อสินค้ามาเก็บแล้วรอขายเพื่อเอากำไรอีกต่อไป การทำธุรกิจแบบ E-Commerce จะเป็นลักษณะที่ เมื่อมีลูกค้าสั่งสินค้าเราถึงจะดำเนินการสั่งสินค้าและส่ง 

(1.5) เลือกกลุ่มเป้าหมายที่จะทำการโฆษณาได้

เราไม่จำเป็นจะต้องไปเสียเงินทำโฆษณาแพงๆ เพื่อให้คนเห็นเยอะๆ อีกต่อไป แทนที่เราจะทำแบบนั้นเราเลือกกลุ่มคนที่มีแนวโน้มจะสนใจสินค้าหรือการบริการของเราดีกว่า ซึ่งแพลตฟอร์มสามารถทำแบบนั้นได้สบาย แต่ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่มากหากเทียบกับการทำการตลาดแบบเดิมๆ

(1.6) เปิดขายได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ตัดปัญหาเรื่องการเปิดปิดร้านไปซะ เพราะระบบออนไลน์ไม่มีวันหลับ ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงสินค้าหรือบริการของเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ก็ขึ้นอยู่กับเราว่าจะพร้อมทำการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้ากันเมื่อไหร่ (ดูแลตัวเองดีๆ ด้วยนะ)

(1.7) เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ทั่วโลก

อย่างที่แอดได้พล่ามไป ว่าช่องทางนี้มันสามารถเข้าถึงผู้คนได้ทั่วโลกด้วยระบบอินเทอร์เน็ต เพราะฉะนั้นเราก็สามารถขายของได้ทั่วโลกโดยไม่มีข้อจำกัด แต่ก็ขึ้นอยู่กับความรู้เรื่องพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายของผู้ประกอบการด้วย

(2) ข้อเสียของ E-Commerce

ทุกอย่างมีสองด้านเสมอ เมื่อมีข้อดีมากข้อเสียก็ต้องมีมากให้ผู้ประกอบการและผู้บริโภคคอยระวังตัวกันด้วย เนื่องจากความสะดวกสบายทำให้เกิดช่องว่างที่อาจก่อให้เกิดผลเสียต่อการติดต่อสื่อสารได้ ดังนี้

(2.1) ผู้บริโภคไม่สามารถสัมผัสสินค้าจริงได้

ข้อเสียที่ชัดเจนที่สุดของ E-Commerce ก็คือผู้บริโภคไม่สามารถสัมผัสกับสินค้าได้ จนอาจทำให้เกิดความผิดพลาดเรื่องขนาดของสินค้า เหตุที่เกิดบ่อยมากที่สุดก็คือสินค้าเครื่องแต่งกาย

(2.2) มีการแข่งขันที่สูงมาก

เป็นปกติอยู่ ช่องทางที่สะดวกสบายขนาดนี้ แถมไม่มีค่าใช้จ่ายในการสร้างพื้นที่อีก ไม่ว่าใครต่างก็ทำได้ทั้งนั้น จึงทำให้เกิดการแข่งขันที่สูงมากในวงการ E-Commerce และก็คือหน้าที่ของผู้ประกอบการแล้วว่าจะสร้างความโดดเด่นให้กับร้านค้าและสินค้าอย่างไรให้ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค

(2.3) ยากต่อการค้นหา เพราะคู่แข่งเยอะ

และเมื่อคู่แข่งเยอะ แสดงว่าต้องมีผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจสายเดียวกับเราเยอะเช่นกัน หากเราไม่สามารถตั้งชื่อหรือทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จักได้มากพอ ก็จะยากต่อการค้นหา เพราะคู่แข่งในตลาดนี้มันเยอะจริงๆ

(2.4) การส่งสินค้าต้องใช้เวลา สร้างความกังวลให้ผู้บริโภค

ในการส่งสินค้าเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลา ซึ่งจะสร้างความกังวลให้ผู้บริโภคทั้งในแง่ของการถูกหลอกให้จ่ายเงินก่อน และความเสียหายของสินค้าเวลาขนส่ง ผู้ประกอบการคงต้องมีวิธีการเลือกบริการขนส่งที่ไว้ใจได้หน่อย

(2.5) เสี่ยงต่อการถูกคุกคาม ด้วยผู้ไม่หวังดีทางอินเทอร์เน็ต

ด้วยความที่โลกออนไลน์มีความอิสระในการแสดงความคิดเห็นอย่างมาก ทำให้ธุรกิจของเราอาจจะถูกคุกคามจากผู้ไม่หวังดีก็ได้ จนถึงขนาดที่อาจทำให้โดนแทรกแซงช่องทางหลังบ้านได้เลยนะ

(2.6) เข้าถึงได้เฉพาะผู้บริโภคที่ใช้อินเทอร์เน็ต 

ถึงแม้อินเทอร์เน็ตจะเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั่วโลก แต่ก็มีกลุ่มคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่สะดวกในช่องทางนี้ นี่จึงเป็นอีกข้อเสียที่การทำธุรกิจแบบ E-Commerce ไม่อาจตอบสนองต่อทุกคนได้ 100%


และนี่ก็คือมหากาพย์ ข้อดี-ข้อเสีย ของการทำธุรกิจ E-Commerce ที่แอดนำมาฝาก เมื่อผู้ประกอบการได้ทำความเข้าใจในข้อดีข้อเสียเหล่านี้แล้ว ก็คงจะมองเห็นความเชื่อมโยงกับธุรกิจของตัวเองบ้างแล้วใช่ไหมครับ

เพราะไม่ใช่ว่าทุกธุรกิจจะสามารถใช้รูปแบบของ E-Commerce ได้ เพื่อนๆ ต้องมองให้ออกว่าจุดแข็งจุดอ่อนของธุรกิจของคุณคืออะไร และที่สำคัญที่สุดเราต้องรู้ว่า ‘กลุ่มเป้าหมาย’ ของธุรกิจเราเขาอยู่ในช่องทางไหนและมีพฤติกรรมอย่างไร การมองความเหมาะสมเพื่อการขยายหรือพัฒนาธุรกิจเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องหาคำตอบให้ได้เสียก่อนที่จะเริ่มต้นช่องทางใหม่ๆ ในการทำธุรกิจนั่นเอง

ที่มา : Source: https://www.shopify.com/encyclopedia/what-is-ecommerce

Ask ChatGPT
Set ChatGPT API key
Find your Secret API key in your ChatGPT User settings and paste it here to connect ChatGPT with your Tutor LMS website.