Course Content
สระในภาษาไทย
0/1
มาตราตัวสะกด
0/1
มาตรา แม่ กง
มาตรา แม่ กง มีพยัญชนะเป็นตัวสะกดคือ ง เท่านั้น(เป็นตัวสะกดตรงมาตรา)
0/2
มาตรา แม่ กด
มาตรา แม่ กด คือคำที่ออกเสียงสะกดเหมือนมี ด เป็นตัวสะกด เช่น ตำรวจ อ่านว่า ตำ - หรวด กระดาษ อ่านว่า กระ -ดาด รถ อ่านว่า รด สัตว์ อ่านว่า สัด แพทย์ อ่านว่า แพด โกรธ อ่านว่า โกรด ประเทศ อ่านว่า ประ - เทด มงกุฎ อ่านว่า มง - กุด ฯลฯ
0/2
มาตรา แม่ กน
มาตรา แม่ กน คือคำที่มี “น” สะกด หรือ พยัญชนะตัวอื่นที่อ่านออกเสียงเหมือน “น” สะกด ได้แก่ ญ ณ ร ล ฬ มาตรา แม่ กน ตัวสะกดตรงมาตรา ได้แก่ “น” มาตรา แม่ กน ตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ได้แก่ ญ สะกด เช่น วันเพ็ญ เชิญ ของขวัญ กล้าหาญ ปัญหา ทำบุญ ณ สะกด เช่น โบราณ คูณ บริเวณ ขอบคุณ ร สะกด เช่น อาหาร ข้าวสาร เกสร ธนาคาร ล สะกด เช่น น้ำตาล ศาล รัฐบาล บอล พยาบาล ฬ สะกด เช่น ปลาวาฬ พระกาฬ ทมิฬ
0/2
มาตรา แม่ กม
มาตรา แม่ กม เป็นคำที่มี “ม” ตัวสะกดเท่านั้น เช่น เกม อิ่ม ยิ้มแย้ม ขนม สาม มะยม ฯลฯ
0/2
มาตรา แม่ กบ
มาตรา แม่ กบ คือ คำที่มี “บ” เป็นตัวสะกดตรงมาตรา เช่น กราบ จอบ ตับ ขวบ เก็บ ฯลฯ ส่วน ป พ ฟ ภ เป็นตัวสะกดไม่ตรงมาตรา เช่น ป สะกด ธูป เทป บาป พ สะกด ภาพ ทัพพี เคารพ ฟ สะกด กราฟ ยีราฟ ภ สะกด โลภ มีลาภ
0/2
มาตรา แม่ เกย
มาตรา แม่ เกย คือ คำที่มี “ย” เป็นตัวสะกดเท่านั้น เช่น สวย หาย คุย น้อย กล้วย ฯลฯ
0/2
มาตรา แม่ เกอว
มาตรา แม่ เกอว คือ คำที่มี “ว” เป็นตัวสะกดเท่านั้น และอยู่ท้ายพยางค์หรือ ท้ายคำ เช่น แก้ว ข้าว แมว ว่าว แห้ว เกี่ยว นิ้ว เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อา
สระ (-า) อา เป็นสระเสียงยาว เขียนไว้หลังพยัญชนะต้นเท่านั้น เช่น กา นา ป้า ขา ยา เป็นต้น ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัวจะเขียนไว้หลังพยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เช่น ปลา สปา สลา พนา เป็นต้น หมายเหตุ ถ้ามีตัวสะกด ตัวสะกดจะเขียนไว้หลังสระ (-า) อา เช่น วาด สาย ยาย ป้าย สบาย ขยาย เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อี
สระ (—ี) อี เป็นสระเสียงยาว สระ อี จะเขียนไว้บนพยัญชนะต้นเท่านั้น ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัว สระ อีจะอยู่บนพยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เช่น ปลี พลี หวี หมี กวี เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อือ
สระ (-ือ) อือ เป็นสระเสียงยาว เช่น ถือ มือ ลือ กือ ปือ เป็นต้น เมื่อมีตัวสะกดสระอือ “อ” จะลดรูปหายไปเหลือแต่รูปสระ -ื และตามด้วยตัวสะกด เช่น มืด ยืน คืน ฝืน พื้น เป็นต้น ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัว รูปสระ -ื จะอยู่พยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เช่น คลื่น กลืน เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อู
สระ (-ู)อู เป็นสระเสียงยาว เขียนสระอูไว้ข้างล่างพยัญชนะต้น ปู ถู ดู หู เป็นต้น ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัว จะเขียนสระอูไว้พยัญชนะตัวที่ ๒ เช่น เช่น หมู หนู หรู เป็นต้น คำประสมสระอู และมีตัวสะกด เช่น ปลูก มะกรูด
0/2
คำประสมสระ เอ
สระ (เ-) เอ เป็นสระเสียงยาว สระเอ จะเขียนไว้หน้าพยัญชนะต้นเท่านั้น เช่น เท เล เข เปล เหลว เปลว เพลง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ แอ
สระ (แ-) เป็นสระเสียงยาว รูปสระ แอ จะเขียนไว้หน้าพยัญชนะต้นเท่านั้น(พยัญชนะต้นจะมี๑ ตัวหรือ ๒ ตัว ก็ตาม) ส่วนตัวสะกดจะเขียนข้างหลังพยัญชนะต้น เช่น แพ แล แห แผล แพลง แสง แกล้ง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ โอ
สระ (โ-) โอ เป็นสระเสียงยาว สระ โอ จะเขียนไว้หน้าพยัญชนะต้นเท่านั้น ส่วนตัวสะกดจะเขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น โบ โจ โ ล โผ โหด โทษ โบสถ์ โจทย์ โปรด โกรธ เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ ออ
สระ (-อ) ออ เป็นสระเสียงยาว เขียนไว้ข้างหลังพยัญชนะต้น เช่น กอ คอ พอ ฯลฯ เมื่อมีตัวสะกด สระ ออ จะไม่ลดรูป เช่น กอด บอก มอง ร้อน ฯลฯ ยกเว้น เมื่อมี “ร” เป็นตัวสะกด สระ ออ จะลดรูปหายไปเหลือแค่พยัญชนะต้นและตัวสะกดเท่านั้นเช่น พร ศร อร จร ฯลฯ
0/2
คำประสมสระ เออ
สระ (เ-อ) เออ เป็นสระเสียงยาว ประกอบด้วย เ- และ -อ จะเขียนไว้ข้างหน้าและข้างหลังพยัญชนะต้น จะคงรูปสระเมื่อไม่มีตัวสะกด เช่น เธอ เจอ เรอ เผลอ เป็นต้น - เมื่อมีตัวสะกด “อ” จะเปลี่ยนรูปเป็น -ิ เช่น เบิก เกิด เมิน เชิด เป็นต้น - แต่ถ้ามี “ย” สะกด “อ” จะลดรูปหายไป เช่น เตย เชย เงย เขย เลย เป็นต้น - ยกเว้นคำว่า เทอม เทอญ จะไม่เปลี่ยนรูปแม้มีตัวสะกด
0/2
คำประสมสระ เอีย
สระ (เ-ีย) เอีย เป็นสระเสียงยาว จะมีสระ เ- อยู่หน้าพยัญชนะต้น มีสระ -ี อยู่บนพยัญชนะต้น และมี ย อยู่หลังพยัญชนะต้น เช่น เปีย เมีย เสีย เป็นต้น ถ้ามีตัวสะกด ตัวสะกดจะอยู่หลัง ย เช่น เสียง เพียง เจียม เลี้ยง เดี่ยว เปลี่ยน เหวี่ยง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ เอือ
สระ (เ-ือ) เอือ เป็นสระเสียงยาว มี เ- อยู่หน้าพยัญชนะต้น มี -ื อยู่บนพยัญชนะต้น และมี อ อยู่หลังพยัญชนะต้น เป็นสระคงรูป ตัวสะกดจะเขียนไว้ตัวสุดท้าย เช่น เรือ เสือ เมื่อ เรื่อง เกือบ เครื่อง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อัว
สระ (-ัว) อัว เป็นสระเสียงยาว ประกอบด้วย -ั (ไม้หันอากาศ) และตัว “ว” -ั เขียนไว้บนพยัญชนะต้น “ว” เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น วัว ตัว บัว กลัว เป็นต้น ถ้ามีตัวสะกด “-ั” (ไม้หันอากาศ) จะหายไป เหลือแต่ “-ว” และตามด้วยตัวสะกด เช่น สวย รวย หมวก ปลวก กรวด เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อะ
สระ (-ะ) อะ เป็นสระเสียงสั้นเขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น มะระ นะคะ พละ คละ เป็นต้น สระ (-ะ) อะ เมื่อมีตัวสะกด รูปสระ -ะ จะเปลี่ยนรูปเป็นไม้หันอากาศ (-ั) เขียนไว้บนพยัญชนะต้น เช่น กับ รับ จัด พัง หลัง พลัง ปรับ ครั้ง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อิ
สระ (-ิ) เป็นสระเสียงสั้น ให้เขียน สระ -ิ ไว้บนพยัญชนะต้น เช่น ปิ ติ ชิ ลิ เป็นสระคงรูป ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัว ให้เขียน สระ -ิ ไว้บนพยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เช่น ปริ ผลิ พยัญชนะที่อยู่หลังพยัญชนะต้น เรียกว่า ตัวสะกด เช่น ดิน ยิ้ม พริก ปลิว หญิง กริ่ง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อึ
สระ (-ึ) อึ เป็นสระเสียงสั้น เขียนสระ -ึ ไว้บนพยัญชนะต้น ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัว สระ -ึ จะเขียนไว้บนพยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เช่น หึ อึ ครึ พยัญชนะที่อยู่หลังพยัญชนะต้น เรียกว่า ตัวสะกด เช่น ลึก ถึง อึด หนึบ หมึก ครึ่ง หนึ่ง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ อุ
สระ (-ุ) อุ เป็นสระเสียงสั้น เขียนไว้ข้างล่างพยัญชนะต้น ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัวจะเขียนไว้ล่างพยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เช่น จุ พุ ฉุ พลุ เป็นต้น พยัญชนะที่อยู่ข้างหลังพยัญชนะต้น เรียกว่าตัวสะกด เช่น ยุง จุด อุ่น ตุ๋น หลุม หยุด คลุก ขลุ่ย เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ เอะ
คำประสมสระ (เ-ะ) เอะ เป็นสระเสียงสั้นประกอบด้วย เ- และ -ะ เ- เขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น -ะ เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น เตะ เละ สระ เ-ะ ที่มีตัวสะกดจะใช้รูป เ-็ (-็ เรียกว่าไม้ไต่คู้ เขียนไว้บนพยัญชนะต้น) เช่น เจ็ด เล็ง เล็บ เป็ด เห็ด เมล็ด เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ แอะ
สระ (แ-ะ) แอะ เป็นสระเสียงสั้น ประกอบด้วย แ- เขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น และ -ะ เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น แกะ แพะ และ แคระ แหยะ แขวะ เป็นต้น ถ้ามีตัวสะกด รูปสระ แ-ะ จะใช้รูปสระเป็น แ-็ (-็ เรียกว่า ไม้ไต่คู้ เขียนไว้บนพยัญชนะต้น) เช่น แข็ง ถ้ามีพยัญชนะต้น ๒ ตัว -็ (ไม้ไต่คู้) จะเขียนบนพยัญชนะต้นตัวที่ ๒ เช่น แกร็น
0/2
คำประสมสระ โอะ
สระ (โ-ะ) โอะ เป็นสระเสียงสั้น ประกอบด้วย โ- และ -ะ เช่น โละ โปะ โต๊ะ เป็นต้น โ- เขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น -ะ เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น สระ โ-ะ เมื่อมีตัวสะกด รูปสระจะลดรูป เหลือแค่พยัญชนะต้นและตัวสะกดเท่านั้น เช่น จม ยก ส้ม พ้น ต้ม รถ ผม ธง เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ เอาะ
สระ (เ-าะ) เอาะ เป็นสระเสียงสั้น ประกอบด้วย เ- , -า และ -ะ เ- เขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น -า และ -ะ เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น เงาะ เกาะ เพาะ เจาะ เพราะ เหมาะ เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ เออะ
สระ (เ-อะ) เออะ เป็นสระเสียงสั้น ประกอบด้วย เ- , อ และ -ะ เ- เขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น อ และ -ะ เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น เลอะ เทอะ เหวอะ เขรอะ เป็นต้น คำประสมสระ เ-อะ เป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด
0/2
คำประสมสระ อำ
สระ (-ำ) เป็นสระเสียงสั้น เช่น ทำ จำ นำ ยำ พรำ คล้ำ หม่ำ เป็นต้น สระ -ำ เป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด
0/2
คำประสมสระ ไอ (ไม้มลาย)
สระ (ไ-) ไม้มลาย เป็นสระเสียงสั้น เขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น เช่น ไป ไฟ ไถ ไข่ ไว ไกล ไหม้ ไหว ไหล เป็นต้น ถ้ามีตัวสะกด ตัวสะกดเขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น ไทย
0/2
คำประสมสระ ใอ (ไม้ม้วน)
สระ (ใ-) ใอ เป็นสระเสียงสั้น เขียนไว้หนเาพยัญชนะต้น เช่น ใน ใจ ใบ ใด ใส่ ให้ ใหม่ ใกล้ ใหญ่ เป็นต้น คำในสระ ใ- มี ๒๐ คำ และเป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด เช่น ใหญ่ ใหม่ ให้ สะใภ้ ใช้ ใฝ่ ใจ ใส่ ใหล ใคร ใคร่ ใบ ใส ใด ใน ใช่ ใต้ ใบ้ ใย ใกล้ เป็นต้น
0/2
คำประสมสระ เอา
สระ (เ-า) เอา เป็นสระเสียงสั้น ประกอบด้วย เ- และ -า สระ เ- เขียนไว้หน้าพยัญชนะต้น และ สระ -า เขียนไว้หลังพยัญชนะต้น เช่น เตา เงา เรา เบา เอา เหา เหมา เหลา เปล่า เศร้า เป็นต้น สระ เ-า เป็นคำที่ไม่มีตัวสะกด
0/2
คำคล้องจอง
คำคล้องจอง คือ คำที่มีสระเหมือนกัน ถ้ามีตัวสะกด ตัวสะกดจะอยู่ในมาตราเดียวกัน คำที่ไม่มีตัวสะกด จะมีเสียงสระเหมือนกัน เช่น ให้ - ได้, ใจ - ใน, ไอ - ไป เป็นต้น คำที่มีตัวสะกด จะมีเสียงสระเหมือนกัน และมีเสียงตัวสะกดเหมือนกัน (มาตราเดียวกัน) เช่น เด็ก - เล็ก, เจ็ด - เป็ด, ชิม - ริม, ช่างคิด - ติดตาม, ดูแล - แท้จริง, ยิ่งใหญ่- ใกล้ตัว เป็นต้น
0/3
คำควบกล้ำ
คำควบกล้ำ มี ๒ ชนิด คือ ควบกล้ำแท้ และควบกล้ำไม่แท้ คำควบกล้ำแท้ คือ คำที่มีพยัญชนะต้น ๒ ตัว พยัญชนะต้นตัวที่ ๒ มี ร ล ว ควบกล้ำ เช่น พระ โปรด กราบ คลอง คลื่น กลอง ขวาน คว่ำ ความ เป็นต้น คำควบกล้ำไม่แท้ คือคำที่ ร เป็นพยัญชนะต้นตัวที่ ๒ แต่อ่านออกเสียงเฉพาะพยัญชนะต้นตัวแรก เช่น สร้อย จริง เศร้า สร้าง เสริม ส่วนเสียงพยัญชนะต้นตัวอื่น คือ ท ควบ ร ออกเสียงเป็น “ซ” ทราบ ทรง อินทรี ต้นไทร ทรุดโทรม เป็นต้น
0/1
การผันวรรณยุกต์
การผันวรรณยุกต์ เป็นการออกเสียงที่เปลี่ยนเสียงไปตามพยัญชนะ และเสียงวรรณยุกต์ซึ่งบางคำมีรูปและเสียงวรรณยุกต์ไม่เหมือนกัน การผันวรณยุกต์ แบ่งเป็นอักษร ๓ หมู่ คือ อักษรสูง ผันวรรณยุกต์ได้ ๓ เสียง คือ เอก โท และจัตวา อักษรกลาง ผันวรรณยุกต์ได้ ๕ เสียง คือ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา อักษรต่ำ ผันวรรณยุกต์ได้ ๓ เสียง คือ สามัญ โท ตรี
0/2
การแต่งประโยค
การแต่งประโยค คือ คำ หรือ กลุ่มคำนำมาเรียงกันแล้วสามารถสื่อความหมายได้สมบูรณ์ทำให้รู้ว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน (ประกอบด้วย ประธาน คือ คน สัตว์ สิ่งของ กริยา คือ อาการแสดง เช่น กิน นอน นั่ง วิ่ง เป็นต้น ส่วน กรรม (จะมีหรือไม่มีก็ได้) ตัวอย่างประโยค น้องกินขนม ( น้อง -เป็นประธาน, กิน - เป็นกริยา, ขนม - เป็นกรรม) นกบิน นก - ประธาน, บิน -กริยา เป็นต้น
0/2
อักษรนำ
อักษรนำ (ห นำ และ อ นำ ย) คือ คำที่มีพยัญชนะ 2 ตัวเรียงกันและร่วมอยู่ในสระตัวเดียวกัน พยัญชนะตัวแรก คือ ห นำ และ อ นำ ย จะออกเสียงร่วมสนิทเป็นพยางค์เดียว ส่วนเสียงวรรณยุกต์ของพยางค์จะผันวรรณยุกต์ตามเสียง ห หรือ อ นำ คำที่มี ห นำ เช่น ห นำ ง เช่น หงาย หงอน / ห นำ ย เช่น หยิบ หยด ห นำ ญ เช่น หญิง หญ้า / ห นำ ร เช่น หรู หรือ ห นำ น เช่น หนอน หนัง / ห นำ ล เช่น หลง หลาย ห นำ ม เช่น หมาก หมอน / ห นำ ว เช่น แหวน หวีด คำที่มี อ นำ ย มีใช้อยู่เพียง 4 คำ คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก
0/2
อักษร ๓ หมู่ (ไตรยางศ์)
ไตรยางศ์ หรือ อักษรสามหมู่ คือระบบการจัดหมวดหมู่อักษรไทย (เฉพาะรูปพยัญชนะ) ตามลักษณะการผันวรรณยุกต์ ของพยัญชนะแต่ละหมวด เนื่องจากพยัญชนะไทยเมื่อกำกับด้วยวรรณยุกต์หนึ่งๆ แล้วจะมีเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกัน ไตรยางศ์มีการจัดหมวดหมู่เพื่อแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็น ๓ ประเภท ดังนี้ * อักษรสูง มี 11 ตัว ได้แก่ ข ฃ ฉ ฐ ถ ผ ฝ ศ ษ ส ห * อักษรกลาง มี 9 ตัว ได้แก่ ก จ ฎ ฏ ด ต บ ป อ * อักษรต่ำ มี 24 ตัว ได้แก่ ค ฅ ฆ ง ช ซ ฌ ญ ฑ ฒ ณ ท ธ น พ ฟ ภ ม ย ร ล ว ฬ ฮ
0/2
การอ่านสะกดคำ
การสะกดคำ คือ การอ่านโดยนำพยัญชนะต้น สระ วรรณยุกต์ และตัวสะกดมาประสมเป็นคำอ่าน ถือเป็นเครื่องมือการอ่านคำใหม่ ซึ่งต้องให้นักเรียนสังเกตรูปคำพร้อมกับการอ่านการเขียน เมื่อสะกดคำจนจำคำอ่านได้แล้ว ต่อไปก็ไม่ต้องใช้วิธีการสะกดคำนั้น ให้อ่านเป็นคำได้เลย จะทำให้นักเรียนอ่านจับใจความได้และอ่านได้เร็ว
0/2
การอ่านออกเสียงพยัญชนะไทย
About Lesson

สระ (โ-) โอเป็นสระเสียงยาว รูปสระ โอ จะเขียนไว้หน้าพยัญชนะต้นเท่านั้น เช่น โก  โบ  โ จ  โผ  โพด  โทษ  โหด  โสด  โปรด โกรธ  โบสถ์  โจทย์  เป็นต้น

 

0% Complete