ผู้ที่จะต้องรับโทษทางอาญานั้นจะต้องเป็นผู้กระทำความผิดทางอาญาแล้ว ผู้ที่ไม่ต้องรับโทษ การกระทำความผิดทางอาญาอาจไม่ต้องรับโทษหรือได้รับรถหย่อนผ่อนโทษ ดังเงื่อนไขต่อไปนี้
1. การกระทำที่ไม่เป็นความผิด ผู้กระทำไม่ต้องรับโทษ เช่น การกระทำที่เป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นต้น
การป้องกันโดยชอบธรรมด้วยกฎหมาย คือ การกระทำผิดโดยป้องกันสิทธิของตนหรือของผู้อื่น ให้ผลจากภัยอันตรายนั้น ถ้าทำโดยสมควรแก่เหตุ
⇒ นายอำนาจเข้าไปลักทรัพย์ในบ้านนายบุญเรือง นายบุญเรืองมาพบเข้า นายอำนาจใช้ปืนยิงนายบุญเรืองแต่กระสุนปืนไม่ถูกนายบุญเรือง นายบุญเรืองจึงใช้ปืนยิงตอบกลับมากระสุนปืนถูกนายอำนาจถึงแก่ความตาย ดังนี้นายบุญเรืองไม่มีความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา เพราะเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
2. การกระทำที่เป็นความผิด แต่ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ มีบางกรณีแม้ผู้กระทำผิดได้กระทำผิด แต่กฎหมายก็ยกเว้นโทษให้
⇒ การกระทำโดยจำเป็นเพื่อป้องกันตนเอง หรือเด็กที่มีอายุไม่เกิน 7 ปี กระทำความผิด เด็กที่กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
3. การกระทำที่เป็นการกระทำผิด แต่ผู้กระทำผิดได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ แม้ผู้กระทำผิดได้กระทำผิดไปแล้ว แต่ได้รับการลดหย่อนผ่อนโทษ
⇒ การกระทำโดยบันดาลโทสะ คือ ผู้กระทำความผิดได้กระทำโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรง ด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงได้กระทำผิดต่อผู้ข่มเหง
⇒ เด็กที่อายุ 7 ปี แต่ไม่เกิน 14 ปี ไม่ต้องรับโทษแต่ศาลอาจใช้วิธีคุมประพฤติ
⇒ เด็กที่อายุเกิน 14 ปี แต่ไม่เกิน 17 ปี อาจมีการลดโทษลงกึ่งหนึ่ง
⇒ อายุเกิน 17 ปีแต่ไม่เกิน 20 ปีจะรับโทษหนึ่งในสามหรือกึ่งหนึ่ง