ความผิดอาญาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน จำแนกได้ดังต่อไปนี้
1. ความผิดอาญาแผ่นดิน เป็นความผิดทางอาญาซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัว และไม่สามารถยอมความกันได้ แม้ไม่มีผู้เสียหายร้องทุกข์หรือไม่มีผู้ใดกล่าวโทษ เจ้าพนักงานสเบสวนก็มีอำนาจสืบสวนดำเนินคดีอาญาต่อผู้กระทำความผิด
2. ความผิดอาญาที่ยอมความได้ หมายถึง ความผิดอาญาที่เป็นความผิดต่อส่วนตัว หากผู้เสียหายไม่ติดใจเอาความ ผู้เสียหายอาจถอนฟ้องหรือยอมความ รัฐไม่สามารถเข้าดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดได้ เช่น ความผิดฐานหมื่นประมาท ความผิดฐานลักทรัพย์ บางครั้งผู้กระทำผิดอาจทำความผิดอาญาแผ่นดิน แต่ถ้ากฎหมายอนุโลมว่าเป็นการกระทำที่ยอมความได้ เช่น บุพการีกระทำต่อผู้สืบสันดาน ผู้สืบสันดานกระทำต่อผู้บุพการี หรือพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกระทำต่อกัน ความผิดฐานยักยอก ความผิดฐานฉ้อโกง และความผิดที่เกี่ยวกับเพศบางลักษณะ ตามกฏหมายให้เป็นความผิดอันยอมความกันได้
ความผิดอาญาใดเป็นความผิดอันยอมความได้ ถ้าหากผู้เสียหายไม่ได้ร้องทุกข์ หรือแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนภายใน 3 เดือน นับตั้งแต่รับรู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีนั้นจะเป็นอันขาดอายุความ กล่าวคือ จะดำเนินคดีอาญาผู้นั้นภายหลังที่ขาดอายุความแล้วไม่ได้ พนักงานสอบสวนย่อมไม่มีอำนาจสอบสวน
นอกจากนี้ยังมีความผิดทางอาญาที่เป็นลหุโทษ หมายถึง ความผิดอาญาที่มีโทษเล็กๆน้อยๆซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1000 บาทหรือทั้งจำ ทั้งปรับ