Course Content
คอมพิวเตอร์ กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญาณต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง
0/19
มัลติมีเดีย 02
สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
0/10
Sessions College Color เครื่องคิดเลขสี
Sessions College Color
0/1
คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย 3 ว XXXXX มัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1
About Lesson

ภาพกราฟิก 2 มิติแบบ  Raster และ แบบ  Vector  มีความแตกต่างกันดังนี้

 ภาพกราฟิกแบบ  Raster ภาพกราฟิกแบบ Vector 
1. ภาพกราฟิกเกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็กๆ หลากหลายสี (Pixels) มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปภาพ  1. ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณ โดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อกัน
2. การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น จะทำให้ความละเอียดของภาพเล็กลง ทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก  2. การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม

3. การตกแต่งและแก้ไขภาพ สามารถทำได้ง่ายและสวยงาม เช่น การ  Retouching ภาพคนแก่ให้หนุ่มขึ้น การปรับสีผิวกายให้ขาวเนียนขึ้น เป็นต้น

 3. เหมาะกับงานออกแบบต่าง ๆ เช่น งานสถาปัตย์ ออกแบบโลโก เป็นต้น
 4. การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว  4. การประมวลผลภาพจะใช้เวลานาน  เนื่องจากใช้คำสั่งในการทำงานมาก

หลักการทำงานของภาพกราฟิกแบบ  Raster 

ภาพกราฟิกแบบ  ราสเตอร์  (  Raster ) หรือบิตแมป Raster   เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel) มีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะต่าง ๆเช่น ภาพถ่าย โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบราสเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Paintbrush โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นต้น

  • ภาพกราฟิกเกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ หลากหลายสี (Pixels) มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปภาพ
  • การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้ความละเอียดของภาพลดลง ทาให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
  • การตกแต่งและแก้ไขภาพ สามารถทาได้ง่ายและสวยงาม เช่น การRetouching ภาพคนแก่ให้หนุ่มขึ้น
  • การปรับสีผิวกายให้ขาวเนียนขึ้น เป็นต้น  
  • การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว

แฟ้มภาพกราฟิกแบบ Bitmap   และคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก
                นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ  Raster  มีหลายนามสกุล เช่น .BMP, .DIB, .JPG, .JPEG, .JPE, .GIF, .TIFF, .TIF, .PCX, .MSP, .PCD, .FPX, .IMG, .MAC, .MSP และ .TGA เป็นต้น ซึ่งลักษณะของแฟ้มภาพจะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น

แฟ้มภาพกราฟิกแบบ Bitmap   และคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก
                นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ  Raster  มีหลายนามสกุล เช่น .BMP, .DIB, .JPG, .JPEG, .JPE, .GIF, .TIFF, .TIF, .PCX, .MSP, .PCD, .FPX, .IMG, .MAC, .MSP และ .TGA เป็นต้น ซึ่งลักษณะของแฟ้มภาพจะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเช่น

หลักการทำงานของภาพกราฟิกแบบ Vector

  ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการประมวลผลโดยอาศัยหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์ มีสีและตำแหน่งที่แน่นอน ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือรูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพ จะไม่ลดลง เช่น ภาพการ์ตูนเมื่อถูกขยายภาพออกมา ภาพที่ได้ก็จะยังคงรายละเอียดและความชัดเจนไว้เหมือนเดิม และขนาดของไฟล์ภาพจะมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบราสเตอร์ โปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบเวคเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Illustrator โปรแกรม CorelDraw เป็นต้น

  • ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคานวณโดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อ กัน ซึ่งอาจจะทับ ซ้อนหรือ ไม่ทับซ้อนก็ ได้
  • การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม
  • เหมาะกับงานออกแบบต่าง ๆ เช่น งานสถาปัตย์ออกแบบโลโก้ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดใช้ พื้นฐานรูปทรงทางคณิตศาสตร์ในการเริ่มต้น ของการออกแบบ
  • การประมวลผลภาพจะใช้เวลานาน และกินพลังงานของอุปกรณ์มากเพราะเนื่องาจากใช้คำสั่งในการทำงานมาก นั้นเอง

ตัวอย่างภาพที่ได้จากการวาดแบบ Vector

แฟ้มภาพกราฟิกแบบ  Vector  และคุณลักษณะของแฟ้มภาพกราฟิก
                นามสกุลที่ใช้เก็บแฟ้มภาพกราฟิกแบบ  Vector  มีหลายนามสกุลเช่น  .EPS, .WMF, .CDR, .AI, .CGM, .DRW, .PLT, .DXF, .PIC  และ  .PGL  เป็นต้น  ซึ่งลักษณะของแฟ้มภาพจะแตกต่างกันไป เช่น