Course Content
คอมพิวเตอร์ กราฟิก
คอมพิวเตอร์กราฟิกส์ หรือในศัพท์บัญญัติว่า วิชาเรขภาพคอมพิวเตอร์ คือหนึ่งในศาสตร์ องค์ความรู้ ของระเบียบวิธีการแก้ปัญหาเชิงคอมพิวเตอร์ ที่แก้ปัญหาเกี่ยวกับเรื่องของภาพหรือการแสดงภาพ โดยเน้นการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ให้ข้อมูลนำเข้าเป็นข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญญาณต่าง ๆ แทน ตำแหน่งพิกัด สี รูปทรง ความสว่าง
0/19
มัลติมีเดีย 02
สื่อมัลติมีเดีย คือ ระบบสื่อสารข้อมูลข่าวสารหลายชนิด โดยผ่านสื่อทางคอมพิวเตอร์ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ฐานข้อมูล ตัวเลข กราฟิก ภาพเสียง และวีดิทัศน์ (Jeffcoate. 1995)
0/10
คอมพิวเตอร์กราฟิกและมัลติมีเดีย 1 ว 32293 มัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1
About Lesson

ประเภทของ Panel ในจอต่างมีอะไรบ้าง ? 

          1. จอประเภทแรก คือ จอ Panel แบบ Twisted Nematic  ( TN )

เป็นจอแสดงผลที่มีราคาไม่แพงและง่ายต่อการผลิต แต่ถ้าพูดถึงคนที่ต้องการ  ภาพและสีที่มีคุณภาพจะไม่ถือว่าเด่นสักเท่าไหร่ เรียกว่าอยู่ในระดับกลางๆ ค่อนไปล่าง อีกทั้งจอนี้ยังมีมุมมองที่แคบที่สุดอีกด้วย ถ้าเรามองด้านบนจะทำให้จอเห็นลางๆ มองจากด้านข้างสีอาจจะเลื่อนหรือเปลี่ยนไป มองจากข้างล่างมักจะมืด สาเหตุเกิดมาจากเทคโนโลยีของ TN นั้นมีการบิดของแสงผ่านตัวกรองหลายชั้นทำให้แสงที่ออกมานั้นชัดเจนแค่หน้าตรงด้านเดียว แต่จุดเด่นที่จอ TN ทำได้ดีมากๆ นั่นคือ Respond Time นั่นเอง โดยส่วนมากจอประเภท TN จะพบเห็นได้ตามจอเล่นเกมที่มี Refresh rate สูงๆ และเป็นจอตัวเลือกแรกๆของเกมเมอร์เลยก็ว่าได้ และยังสบายตาอีกด้วย

          2. จอประเภทที่สอง คือ จอ Panel แบบ  Vertical Alignment (VA)

แปลเป็นไทยคือจอภาพที่มีการเรียงเม็ดพิกเซลแบบเป็นแท่นตรงเรียงต่อกัน โดยถ้าพูดถึงคุณภาพสีจะถือได้ว่าจอ VA นั้นทำได้ดีกว่า TN แต่ยังคงด้อยกว่า IPS อยู่ดี ถ้าพูดถึงมุมมองด้านบนด้านข้างด้านล่างยังมีการเปลี่ยนแปลงของสีบ้าง ทำให้สีเพี้ยน  แต่ยังถือว่ากว้างกว่าของ TN อยู่ แต่ข้อดีของจอประเภทนี้คือ มี Contrast นั้นดีที่สุดที่ทำให้สีดำนี่เรียกว่าดำสนิทเลย โดยปกติ Contrast  ratio ของจอ TN และ IPS อยู่ราวๆ 1000: 1 แต่ จอ VA รุ่นล่าง จะอยู่ราวๆ 2000 : 1 ซึ่งเหมาะมากกับการดูหนัง ครับ โดยภาพรวมแล้วเรียกว่าอยู่ระหว่างกลางของ TN และ IPS นั่นเอง

          3. จอประเภทที่สาม คือ จอ Panel แบบ IN-Plane Switching (IPS)

มีโครงสร้างเรียกพิกเซลเป็นรูปทรงบั้งวางเรียงกัน ทำให้มีมุมมองรับชมที่กว้างมองจากมุมไหนก็ตามสีไม่เพี้ยน โดยมีมุมมองอยู่ที่ 178/178 องศา อีกทั้งเป็นจอแข็ง เอานิ้วลูบไม่เกิดลายน้ำแต่ถ้าเทียบในรายละเอียดในที่มืดและการคุม Contrast ยังเป็นรอง จอ Panel แบบ VA โดยส่วนมากจอแบบนี้จะเป็นที่นิยมสำหรับงานกราฟฟิค อินทีเรียที่ต้องการความละเอียดของสีที่ค่อนข้างสูง 

 

 

Retina display

        Retina display มีชื่อเสียงมากจากมือถือ iPhone หรือแม้กระทั่ง Macbook, iMac กันมานานแล้ว แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร และทำไมอุปกรณ์อื่นๆ จึงไม่ใช้หน้าจอประเภทนี้กันบ้าง ก่อนอื่นเรามาท้าวความกันก่อนว่า “Retina display” นั้นคือชื่อทางการตลาดของหน้าจอที่ Apple ใช้เรียกกับเฉพาะกับผลิตภัณฑ์ตัวเอง ไม่ว่าจะเป็น Mac หรือ iDevice ทั้งตระกูล และได้มีการจดสิทธิบัตรในปี 2012 ในชื่อ “Retina” หมายความว่า จะไม่มีใครสามารถนำชื่อนี้ไปใช้ทางการตลาดได้ นอกจาก Apple แต่เพียงผู้เดียว

         ซึ่งอุปกรณ์รุ่นแรกที่ใช้หน้าจอแบบ Retina คือ iPhone 4 ที่ใช้หน้าจอพาเนล IPS ขนาดจอ 3.5 นิ้ว ความละเอียด 640×960 หรือ 326 ppi (PPI คือ Pixel Per Inch หรือการวัดจำนวนเม็ดพิกเซลต่อนิ้ว) โดยคุณสมบัติของหน้าจอที่จะเรียกว่า Retina display นั้น ทาง Apple ได้นิยามไว้ว่า Retina คือหน้าจอที่มีความคมชัดของรูปภาพและตัวหนังสือที่มากพอ โดยวัดจากระยะห่างจากหน้าจอและระยะสายตาที่จะทำให้เราไม่สามารถมองเห็นหรือแยกแยะเม็ดพิกเซลได้แล้ว แต่ไม่ได้มีการกำหนดตายตัวว่าจะต้องมีความหนาแน่นของพิกเซล หรือมีความละเอียดขั้นต่ำเท่าไหร่จึงจะเรียกว่าเป็นระดับ “Retina”